Page 72 - 22376_fulltext
P. 72

เสริมสร้างพลังพลเมือง
                      จังหวัดร้อยเอ็ด


                     นอกจากนี้ งานส่งเสริมการมีสภาพลเมืองเพื่อเป็นพื้นที่ในการมี

               ส่วนร่วมของพลเมือง ยังทำให้เกิดการศึกษาเพื่อค้นหาแนวทางพัฒนา
               ความเข้มแข็งของสภาพลเมือง โดย ปิยะนันท์ ทรงสุนทรวัฒน์ และ

               ปิยะนุช เงินคล้าย (2562) ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็ง
               ของสภาพลเมือง ไว้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้ ด้านคน จะต้องเป็น
               ประชาชนที่ผ่านการขัดเกลาสู่การเป็นพลเมือง ด้านโครงสร้างสภาพลเมือง

               ควรมีโครงสร้างแบบยืดหยุ่น ไม่เป็นแบบทางการ ด้านงบประมาณ
               ควรมีงบประมาณเฉพาะให้กับสภาพลเมือง ด้านการจัดการ กิจกรรม

               และแผนงาน จำเป็นต้องมีการกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนกิจกรรมของ
               สภาพลเมือง ด้านกฎหมายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับ ให้อำนาจหน้าที่
               และบทบาทของสภาพลเมือง และด้านอื่น ๆ เช่น การพัฒนา

               ด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร การสร้าง วัฒนธรรมความเป็นพลเมือง
               การพัฒนาเครือข่ายประชาสังคม


                     จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า สภาพลเมือง ได้เป็นพื้นที่สำคัญสำหรับ
               การพัฒนาและส่งเสริมความเป็นพลเมืองและสร้างพลังพลเมือง ดังเช่นที่

               ธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ (2559) และชำนาญ จันทร์เรือง (2562) ที่ได้ทำงาน
               ขับเคลื่อนสภาพลเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ สภาเมืองขอนแก่น
               เห็นเช่นเดียวกันว่าสภาพลเมือง เป็นประชาธิปไตยที่สามารถบรรเทา

               ความยุ่งยากทางการเมืองและเป็นประชาธิปไตยในท้องถิ่นที่ให้พลเมือง
               มีส่วนร่วม มีพลัง และเป็นประชาธิปไตยที่กินได้












                 สถาบันพระปกเกล้า
                                                                                                                  สถาบันพระปกเกล้า
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77