Page 42 - 4 EDIT โรงเรียนสร้างคน พลเมืองสร้างชาติ The Series เล่ม 1 (2559).indd
P. 42

โดยยึด 3 หลักส�าคัญ อันได้แก่ หลักสิทธิ หลักประชาธิปไตย และหลักการแก้ไข
           ปัญหา โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากสถาบันพระปกเกล้า และศูนย์พัฒนา
           การเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดร้อยเอ็ด ชาวบ้านหมู่ 4 ต�าบลสว่าง
           อ�าเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และที่ส�าคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ ผู้สมัครเข้าแข่งขันชิง
           ต�าแหน่งผู้ใหญ่บ้านในครานั้น เพราะนี้ถือเป็นตัวแปลส�าคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ว่าได้
           โดยการก�าหนดนโยบายสาธารณะในครั้งนี้คือ การแข่งขันต้องเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์

           ไม่ซื้อสิทธิกัน และไม่ขายเสียงกัน โดยมีข้อสัญญาและข้อตกลงร่วมกันเป็นสิ่งที่ชาวบ้าน
           เรียกว่า “สัญญาใจ” ซึ่งดึงเอาสิ่งศักดิ์สิทธิเข้ามาเป็นอีกที่พึ่งหนึ่งของการเลือกตั้ง
           ครั้งนี้
                  วิธีการง่าย ๆ ที่คนไทยเคารพนับถือ คือ กราบไหว้ สาบาน และขอพร
           จากสิ่งศักดิ์สิทธิ จากคุณพระคุณเจ้า นี่แหละ!!!... ความเชื่อหนึ่งที่ท�าให้นโยบายนี้ส�าเร็จ
                  เมื่อมีนโยบาย ย่อมต้องมีผู้รับฟัง และปฏิบัติตาม นโยบายนี้ได้ถูกน�าเสนอ
           ต่อชาวบ้านหมู่ 4 ต�าบลสว่าง อ�าเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ในทันที ผู้สมัครเลือกตั้ง
           ได้ปฏิบัติตามโดยการเข้าร่วมปฏิญาณตนสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้เกิดความ

           โปร่งใสและยุติธรรม ด้วยถ้อยค�าสาบานที่ว่า…
                  “การเลือกตั้งจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ เป็นธรรม และโปร่งใส จะไม่ซื้อ
           สิทธิขายเสียง และจะแข่งขันกันด้วยความซื่อตรง หากผิดค�าสาบานนี้ ขอให้มีอัน
           เป็นไปภายใน 3 วัน 7 วัน ทันที”
                  นี้เป็นค�าสาบานกล่าวขานกันมาจนถึงทุกวันนี้และน�าค�าสาบานนี้ไปใช้ใน
           ทุกหมู่บ้านที่มีการเลือกตั้งมาถึงปัจจุบันนี้  จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติร่วมกันของ
           ทุกชุมชนในอ�าเภอโพนทองและขยายสู่อ�าเภอใกล้เคียงอื่น  ๆ  ต่อมา  และปัจจุบันนี้
           หมู่ที่ 5 บ้านโพนพอุง อ�าเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้น�านโยบายนี้ “เลือกตั้ง
           สมานฉันท์ ไม่ซื้อสิทธิ ขายเสียง” ไปปฏิบัติในการเลือกตั้งก�านัน ผู้ใหญ่บ้าน จนประสบ
           ผลส�าเร็จ  และก�าลังขยายโครงการนี้สู่หมู่บ้านอื่น  ๆ  อีกต่อไปเช่นกัน  (ว้าว….เลยใช่
           ไหมล่ะทุกคน) นี้แหละที่เรียกว่า “พลเมืองสร้างได้ของจริง”
                  บทสัมภาษณ์แม้น้อยนิด แต่ข้อคิดไม่นิดน้อย

                  จากการสัมภาษณ์ พ่อพยนต์ ปัญญาภา ในฐานะนักเรียนโรงเรียนพลเมือง
           โพนทอง และในฐานะกรรมการสภาพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ถึงความเปลี่ยนแปลงที่
           เกิดขึ้นทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม หลังจากเข้าเรียนโรงเรียนพลเมืองจะพัฒนามาเป็น
           พลเมืองในปัจจุบันนี้พบว่า…
                                         I
          30 “โรงเรียนสร้างคน……พลเมืองสร้างชาติ” เล่ม 1   2559
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47