Page 125 - kpi22228
P. 125

117



               และมีการใชความรุนแรงทางการเมือง จนกระทั่งมีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 ซึ่งทําใหเห็น

               ความตื่นตัวทางการเมืองของกลุมตาง ๆ ดังมีการตั้งพรรคการเมืองถึง 60 พรรค พรรคการเมืองไมถูกกํากับ
               ดวยกฎหมายมากมายนัก ทําใหเกิดเรื่องราวการแจกสิ่งของ หรือเงินและคะแนนเสียง หรือการใหคําสัญญา

               ทางการเมือง แตในอีกดานหนึ่งก็มีขอครหาเรื่องการใชอํานาจฝายรัฐบาลในการโกงการเลือกตั้ง แตขอสังเกต

               ประการหนึ่งคือมีความนิยมใชวิธีปราศรัยมากขึ้น ถึงขั้นตั้งเปนพรรคการเมืองชื่อขบวนการไฮดปารคหลังจาก
               ถูกสกัดมิใหปราศรัย แตก็พายใหกับพรรคการเมืองที่สนับสนุนจอมพล ป. พิบูลสงคราม และพรรค

               ประชาธิปตยตามลําดับ ในเวลานั้นบรรยากาศทางการเมืองยังคงเปดอยูในระดับหนึ่ง แตจะเห็นรอยราว

               ระหวางผูนํากองทัพกับผูนํารัฐบาลจากการเลือกตั้งอยางชัดเจน เมื่อมีการแขงขันทางอํานาจและมีการทาทาย
               ทําใหผูนํากองทัพตัดสินใจกอรัฐประหารยึดอํานาจในป 2500 และครองอํานาจโดยการประวิงเวลาใช

               รัฐธรรมนูญทั้งฉบับชั่วคราวและฉบับถาวร

                       ถึงแมวาจะเปนชวงเผด็จการ แตก็มีการเลือกตั้งในยุคเผด็จการทหารเพียงครั้งเดียวกอนการใช
               ธรรมนูญการปครอง 2502 และ รางรัฐธรรมนูญจนถึงประกาศใชใน พ.ศ. 2511 ในชวงเวลาดังกลาวมีการตรา

               พระราชบัญญัติพรรคการเมืองอีกครั้ง จึงมีพรรคการเมืองเกิดขึ้นอีก รวมทั้งจอมพล ถนอม กิตติขจรที่เปน

               หัวหนาพรรคสหประชาไทย ซึ่งมีความไดเปรียบในแงตัวบุคคลที่กุมอํานาจ พรรคสหประชาไทยจึงมีผูแยงชิง
               กันสมัครในนามพรรค จึงมีการแขงขันระหวางพรรคการเมืองในระดับหนึ่งแตไมปรากฏรูปแบบการแขงขัน

               ทางการเมืองในรูปแบบใหม กระนั้นพรรคสหประชาไทยก็ไมสามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได ทําใหตองอาศัย

               คะแนนเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. ไมสังกัดพรรค ซึ่งในเวลาตอมายายมาสังกัดพรรคสหประชาไทย เทากับวา
               รัฐบาลจอมพลถนอมมีอํานาจรัฐบาลแตขาดอํานาจในการควบคุม จึงตองตอรองกับ ส.ส. เหลานั้น จนประสบ

               ปญหาและรัฐประหารตัวเองในที่สุด

                       การยึดอํานาจตัวเองและใชรัฐธรรมนูญชั่วคราวทําใหจอมพลถนอมถูกตั้งคําถามและเผชิญการตอตาน
               ในที่สุดก็เกิดเหตุการณ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งในการออกแบบระบอบการเมืองก็ไดพยายามแกปญหาพรรค

               การเมืองและการยายพรรคของ ส.ส. จึงไดกําหนดให ส.ส. ตองสังกัดพรรคการเมือง ในการเลือกตั้งป 2517

               จึงมีพรรคการเมืองถึง 42 พรรค แตไมมีพรรคใดไดคะแนนเสียงเด็ดขาด ทําใหพรรคประชาธิปตยตอง
               ตั้งรัฐบาลผสมแตไมสามารถควบคุมเสียงได จึงพายแพในการแถลงนโยบายและตองลาออก ถึงแมวา

               ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในฐานะหัวหนาพรรคกิจสังคมพยายามจะตั้งรัฐบาลเสียงขางนอย โดยอาศัยบารมีและ

               ความยอมรับจากพรรคขนาดเล็กถึง 16 พรรค แตก็ทําใหพรรครวมรัฐบาลขัดแยงกันตองยุบสภาในระยะเวลา
               เพียง 10 เดือนเศษ

                       อาจกลาวไดวาการแขงขันทางการเมืองในชวงหลัง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 มีลักษณะ

               สองประการ ประการแรก เปนชวงที่พรรคการเมืองมีจุดยืนทางอุดมการณทางการเมืองอยางชัดเจน ดังจะเห็น
               ไดจากการแสดงตัวทางอุดมการณของพรรคการเมืองอยางชัดเจน เชน พรรคสังคมนิยมแหงประเทศไทยที่นํา

               โดย ดร.บุญสนอง บุญโญทยาน ผูกอตั้งและเลขาธิการ แต ดร.บุญสนองก็ถูกสังหารอยางโหดราย ทําให

               สถานการณตึงเครียดอยางมาก การสังหารผูนําชาวนา ประชาชน นักศึกษาในกรณีตาง ๆ จึงเสริมแรงกดดันให
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130