Page 124 - kpi22228
P. 124

116



               ทางการเมืองที่สําคัญที่สุดในชวงทศวรรษ 2530 จนถึงการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ 2534 ซึ่งมีกรณีการ

               สังหารนายแคลว ธนิกูล เจาพอผูวางแผนเขาสูอํานาจการเมืองผานการเลือกตั้ง การสังหารนายแคลวเปนกรณี
               ที่ยังกลาวขวัญถึงในฐานการสังหารนักการเมืองอยางเปดเผยและรุนแรงที่สุดครั้งนึ่งในการเมืองไทย

                       แตเมื่อสังคมไทยผานการเจรจาตอรอง หลังการสังหารประชาชนโดยผูนํากองทัพและ รสช. ในเดือน

               พฤษภาคม 2535 ก็ไดเกิดกระแสการตอรองทางอํานาจ เพื่อลดอํานาจกองทัพและแสวงหาความพยายาม
               ในการกันกองทัพออกจากการเมือง ซึ่งเกิดกระแสปฏิรูปการเมืองจนนําไปสูการรางรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.

               2540 ซึ่งเปนการรางรัฐธรรมนูญโดยมีสภารางรัฐธรรมนูญที่ไดรับการยอมรับกับผูเชี่ยวชาญดานรัฐศาสตรและ

               นิติศาสตร จนทําใหเกิดดุลยภาพใหมทางการเมือง
                       ผลของการบังคับใชรัฐธรรมนูญ 2540  มีผลอยางสําคัญในการเปลี่ยนตัวผูกําหนดเกมสและกติกา

               ดังนี้

                       ประการแรก จากเดิมที่ฐานขอมูลทะเบียนราษฎรอยูในมือของกระทรวงมหาดไทย ทําให
               กระทรวงมหาดไทยกํากับและการเลือกตั้ง นักการเมืองที่รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยยอมไดเปรียบ

               จึงมีความพยายามแยกหนาที่การเลือกตั้งออกจากกระทรวงมหาดไทย ทําใหเกิดองคกรอิสระมาทําหนาที่

               กํากับการเลือกตั้ง ที่รูจักกันดีในนาม สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
                       ประการที่สอง การปฏิรูประบบราชการ สวนหนึ่งแยกกรมตํารวจที่เปนกลไกสําคัญในการปราบปราม

               และปองกันการทุจริต ดูแลความปลอดภัย ความเรียบรอยในการเลือกตั้ง เปนหนวยงานภายใตกํากับของ

               สํานักนายกรัฐมนตรี ทําใหลดอํานาจของกระทรวงมหาดไทย โดยลําดับและมีนัยสําคัญตอการชี้ขาดผลการ
               เลือกตั้ง

                       ประการที่สาม กติกาและกฎหมายที่กํากับการเลือกตั้งถูกกําหนดชัดเจนมากขึ้น ทําใหกลยุทธการ

               เลือกตั้งที่เคยใชมาในอดีต เชน การแจกเงินซื้อเสียง การแจกของขวัญ การใหคําสัญญาวาจะนําสิ่งของ ถนน
               ไฟฟา มาแลกคะแนนนิยมเปนสิ่งที่กระทําไมได หรือกระทําไดยากยิ่งขึ้น ทําใหฝายการเมืองตองแสงหาความ

               นิยมทางการเมืองในวิธีการที่ถูกตองตามกฎหมายและอยูในกรอบมากขึ้น การนําเอากลยุทธทางการตลาดมา

               ในทางการเมืองจึงปรากฏชัดขึ้น


               3.5 สรุป

                       ในบทนี้ไดแสดงใหเห็นพัฒนาการ พัฒนาการการแสวงหาความนิยมทางการเมืองในการเมืองไทย
               โดยยุคแรกเริ่มการหาเสียงของนักการเมืองในยุคแรก (ทศวรรษ 2460-2500) จะอาศัยความโดดเดนของตัว

               บุคคลเปนหลัก ทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธคุณลักษณะของผูสมัครและการแสดงออกทางพฤติกรรมเพื่อให

               เปนที่จดจําของประชาชน
                       ตอมา เมื่อเริ่มมีการตั้งพรรคการเมือง (กอนมีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง 2498) นักการเมืองที่มี

               ความสนใจในประเด็นคลายคลึงกันก็ไดเขารวมกันเปนพรรคการเมือง ในยุคแรกนี้มีแนวทางของพรรคชัดเจน

               ตามที่ประกาศสนับสนุนนิยมเจากับฝายที่สนับสนุนคณะราษฎรผานนายปรีดี พนมยงค มีการเปดเวทีปราศรัย
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129