Page 123 - kpi22228
P. 123

115



                       ความนาสนใจคือเศรษฐพรไดบอกเลาวิธีการหาเสียงเลือกตั้งของผูสมัครรับเลือกตั้งในสมัยกอน

               เชน การซื้อบัตรประชาชนเพื่อคุมคะแนนเสียง ซื้อคะแนน ซื้อขาว และยังบอกกลโกงตาง ๆ ในสมัยกอนอีก
               ดวย เชน การยกพลขึ้นบก บัตรผี บัตรเหลือง การยายเจาหนาที่มหาดไทยและขาราชการในทองที่เพื่อให

               ตนไดเปรียบ การปาระเบิดใสฝูงชนที่ไปฟงปราศรัยของผูสมัคร ไปจนถึงกระทั่งการจางมือปนรับจาง และ

                                        30
               จับหัวคะแนนของฝายตรงขาม29
                       สวนการเปนนักธุรกิจทองถิ่นนั้น มีปรากฏชัดในกรณีผูคาพืชไร ที่พอคา หรือนักธุรกิจสามารถกําหนด

               ราคาที่เอื้อใหเกิดความนิยม ผานบุญคุณ สายสัมพันธ เงินกู หรือการประกันราคาพืชผล หรือถามากกวานั้น

               ก็คือการเปนนักการเมืองระดับรัฐมนตรีที่สามารถสรางนโยบายที่นํามาซึ่งบุญคุณและความนิยมทางการเมือง
               ดังที่ปรากฏในงานวิจัยของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ เรื่อง “หีบบัตรกับบุญคุณ” (2558) ซึ่งสะทอนใหเห็นความสัมพันธ

               ระหวางการอุปถัมภระหวางผูอุปถัมภกับผูรับการอุปถัมภ (patron-client system) อันนํามาซึ่งบุญคุณผูกพัน

               ทําใหไดรับความนิยมทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไปดวย
                       ในอีกดานหนึ่ง เบเนดิกท แอนเดอรสัน (2558) ไดกลาวถึงภาพยนตรเรื่อง “มือปน” (2526)

               วาสะทอนความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในทศวรรษ 2530 ไดนาสนใจมาก กลาวคือ เบเนดิกท แอนเดอร

               สัน ไดชี้ใหเห็นถึงบทบาทการใชการสังหารทางการเมือง ซึ่ง ในอดีตที่ผานมา การสังหารคูแขงทางการเมือง
               อยูในรูปแบบที่ผูกุมอํานาจรัฐใชการฆาตกรรมทางการเมืองเพื่อกําจัดคูแขงโดยการสังหาร หรือฆาตกรรม แต

               ไมไดเชื่อมโยงกับการเลือกตั้งโดยตรง เชน ความพยายามลอบสังหารแกนนําของคณะราษฎร กรณีการสังหาร

               4 รัฐมนตรี ในยุคพลตํารวจเอกเผา ศรียานนท รวมทั้งการปาระเบิดใสเวทีหาเสียงของนายไถง สุวรรณทัต
               เปนตน จากนั้นก็เขาสูการสังหารโดยรัฐซึ่งไมไดเปนไปในลักษณะการสังหารเพื่อเอาชนะทางการเมือง

               ในสภาผูแทนราษฎร เบนไดชี้ใหเห็นวาการที่จอมพลสฤษดิ์สั่งประหารผูตองหาคดีวางเพลิงก็เปนไปเพื่อ

               สรางคะแนนนิยมทางการเมือง แตยังมีสวนที่เปนการกําจัดใหพนไปในนามของความมั่นคงแหงรัฐ เชน กรณี
               ถังแดงที่ จ. พัทลุง ที่สังหารโดยเจาหนาที่รัฐ การสังหาร ดร.บุญสนอง บุญโยทยาน ผูนําสหภาพแรงงาน

               นักหนังสือพิมพฝายซาย ผูนําชาวนาและผูนํานักศึกษา มีเปาหมายเพื่อจะขมขูชนชั้นลางและผูนําทางการเมือง

               ฝายประชาชนมากกวาจะกําจัดคูแขงในสภาผูแทนราษฎร (เบเนดิกท แอนเดอรสัน 2558, 122-125)
                       แอนเดอรสันตั้งขอสังเกตวาภายหลังการใชรัฐธรรมนูญฉบับ 2521 เปนชวงเวลาที่มีการเลือกตั้ง

               สมาชิกสภาผูแทนราษฎร เปนชวงเวลาที่มีการสังหารคูแขงทางการเมืองมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้น กลาวคือ

               เบนเห็นวา “สถาบันผูแทนราษฎรเขมแข็งขึ้นจนมีมูลคาทางการตลาดอยางแทจริง” (เบเนดิกท แอนเดอรสัน
               2558, 128) การใชมือปนสังหารคูแขงทางการเมืองกลายมาเปนชองทางหนึ่งในการสถาปนาอํานาจของ

               นักการเมืองที่เปนตัวละครหนาใหมอีกครั้ง แตจะเห็นไดวาการฆาตกรรมคูแขงในสนามเลือกตั้งเพื่อใหไดมาซึ่ง

               อํานาจการเมืองไดสะทอนความสําคัญของการเขาสูอํานาจในสภาผูแทนราษฎร ซึ่งเปนกลไกและสถาบัน


               30  หนังสือเลมนี้พิมพครั้งแรก สองเดือนกอนที่จะเกิดเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519 และพิมพครั้งที่ 2 ใน 2531 โดยผูเขียน

               ปรับปรุงเนื้อหาเขาไปเพิ่มเติมดวยบางสวน งานของเศรษฐพรจึงครอบคลุมการอธิบายการเลือกตั้งระหวางทศวรรษ 2520 ถึง
               ปลายทศวรรษ 2540 ซึ่งมีกฎหมายกํากับการเลือกตั้งมากขึ้น
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128