Page 130 - kpi22228
P. 130

122





                                                         บทที่ 4

                                  การตลาดการเมืองไทยในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562



                       นับจากการเลือกตั้งครั้งแรกที่มีการหาเสียง และมีพรรคการเมืองที่กฎหมายรับรองในปลายทศวรรษ
               2490 ประเทศไทยผานการปกครองทั้งระบอบเผด็จการอํานาจนิยม ยุคประชาธิปไตยเบงบาน

               ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ จนเขาสูยุคประชาธิปไตยเต็มใบในกรอบของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่คาดหวังวา พรรค
               การเมืองไทยควรจะมีบทบาทในการสรางเสถียรภาพทางการเมือง ตลอดจนการออกแบบกติกาทางการเมือง

               ใหมีผูสมัครตองสังกัดพรรคการเมือง กอใหเกิดการเมืองแบบสองพรรคใหญ แตความถดถอยเสื่อมทราม

               ทางการเมืองกลางทศวรรษ 2550 ทําใหเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และ 2557 ซึ่งทวนยอนไปสูยุค
               การเมืองแบบหลายพรรค ภายใตกติกาที่เสมือนประชาธิปไตยครึ่งใบ (ดู บทที่ 7 ใน บัณฑิต จันทรโรจนกิจ

               2563)

                       ในเงื่อนไขดังกลาวสะทอนมาในกรอบกติกาทางการเมืองที่ออกแบบไวในรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งเปน
               การเปดโอกาสใหมีการเลือกตั้งครั้งแรก ภายหลังจากความเสื่อมทรามทางการเมืองในรอบเกือบสองทศวรรษ

               ถึงแมบรรยากาศการเลือกตั้งครั้งแรกภายใตรัฐธรรมนูญ 2560 จะอยูภายใตเงื่อนไขที่คอนขางจํากัด และมี

               ความผันผวน ดังจะเห็นไดจากการยุบพรรคไทยรักษาชาติ ในวันที่ 7 มีนาคม 2562 เพียงไมกี่วัน
               กอนการลงคะแนน การตั้งขอกลาวหาในทางการเมืองตอผูนําพรรคอนาคตใหม การแบงขั้วทางการเมือง

               ระหวางฝายที่สนับสนุน พลเอก ประยุทธ จันทรโอชา หัวหนาคณะรัฐประหารและฝายตอตาน ภายใต

               ขอวิจารณวาสืบทอดอํานาจ และกลยุทธการแตกแบงคพัน หรือแตกพรรคใหญเปนพรรคยอย เชน มีการ
               ตั้งขอสังเกตวาพรรคเพื่อไทยแตกพรรคไทยรักษาชาติเปนพรรคลูก เพื่อเลี่ยงเพดานจํานวน ส.ส. สูงสุด

               แตถูกยุบพรรคในเวลาตอมา ทําใหเกิดความเปลี่ยนแปลงตอดุลยภาพทางอํานาจและฐานเสียงอยางมีนัยสําคัญ

               (บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563,  276-285)
                       ถึงแมวาจะมีความพลิกผันอยางมาก แตพรรคการเมืองจํานวนหนึ่งสามารถยึดกุมพื้นที่ทางการเมือง

               ไดอยางนาสนใจ เชน พรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม ซึ่งทั้งสามพรรคการเมือง

               ที่สามารถสรางความแตกตางในการหาเสียงเลือกตั้งเหลานี้ ประสบความสําเร็จในการสื่อสารทางการเมือง
               จนมีแนวทางในการหาเสียงเลือกตั้งที่มีเอกลักษณ ผลก็คือ พรรคการเมืองหลายพรรคการเมืองสามารถ

               เอาชนะการเลือกตั้งไดคะแนนเสียงและจํานวนสมาชิกสภาผูแทนราษฎรจํานวนมากในสภาผูแทนราษฎร

                       ผูวิจัยไดทําการสัมภาษณเจาะลึกผูที่เกี่ยวของ เชน ผูบริหารพรรคการเมือง สมาชิกสภาผูแทนราษฎร
               จากพรรคตาง ๆ เพื่อรวบรวมแบบแผนการหาเสียงและการวางกลยุทธเพื่อทําความเขาใจแนวทางการตลาด

               การเมืองของพรรคตาง ๆ ทั้งนี้ ผูใหสัมภาษณไมตองการเปดเผยตัวตน ดังนั้นในรายงานวิจัยฉบับนี้

               จะไมบงชี้อัตลักษณของผูใหขอมูลจากการสัมภาษณ
                       จากที่ไดศึกษารูปแบบหลักของการตลาดการเมือง พบวาพรรคการเมืองนําเสนอตัวเองใน 3 รูปแบบ

               ไดแก พรรคการเมืองที่เนนผลิตภัณฑ พรรคการเมืองที่เนนการขาย และพรรคการเมืองที่เนนตลาด ซี่งมี
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135