Page 266 - 22221_Fulltext
P. 266
2
อย่างทั่วถึงในโรงเรียน รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงทีอีกทางหนึ่งด้วย และเพื่อให้
สามารถจัดบริการให้เด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาการเรียน รวมถึงปัญหาสุขภาพจิต อื่นๆ ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมป้องกัน และการรักษาฟื้นฟู โดยมุ่งหวังให้เด็ก
และวัยรุ่นเข้าถึงบริการได้มากขึ้นและเป็นต้นแบบในการขยายผลไปใช้ต่อในพื้นที่อื่นๆ ได้
โดยเทศบาลได้มีการดำเนินการดังนี้
1. ประชุมหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
2. อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ครูชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนในเขตเทศบาลนคร
ขอนแก่น เพื่อนำเด็กเข้าสู่ระบบดูแลช่วยเหลือโดยผ่านระบบ Application HERO
3. คัดกรองเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนเทศบาลนครขอนแก่น
ทั้งหมด โดยผ่านระบบ Application HERO เมื่อได้ผลการคัดกรองเรียบร้อยแล้ว คัดเอา
เด็กกลุ่มเสี่ยงรุนแรง โรงเรียนละ 10 คน จากนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู หมอ
ศึกษานิเทศก์ ลงพื้นที่ทุกโรงเรียนเพื่อดูผลการคัดกรองว่าเด็กเสี่ยงหรือมีปัญหา สอบถาม
พฤติกรรมในโรงเรียนและข้อมูลที่ครูออกเยี่ยมบ้าน พร้อมให้คำแนะนำครูประจำชั้นของ
เด็กกลุ่มเสี่ยงที่เลือก เพื่อหาแนวทางแก้ไข
4. ตั้งกลุ่มไลน์แต่ละโรงเรียน เพื่อให้ครูประจำชั้นสามารถถามข้อสงสัย วิธีการดูแล
หรือประสานข้อมูลจากผู้ปกครองเพื่อขอคำแนะนำจากหมอ และมีการทดสอบ วัด IQ และ
อื่นๆ โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล หรือถ้ามีความจำเป็นต้องพบหมอก็สามารถนัดผ่านช่องทาง
นี้ได้ อีกทั้งหมอสามารถขอข้อมูลครูและผู้ปกครองผ่านทางช่องทางไลน์กลุ่มนี้ได้ทันที
ที่ต้องการ
5. เยี่ยมบ้านเด็กชั้นประถมศึกษาที่ผ่านการคัดกรองแล้วโดยครูประจำชั้นและหมอ
ที่ดูแลเพื่อปรับทัศนคติด้านลบของผู้ปกครอง
6. สร้างความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครองที่ผ่านการอบรม เพื่อจัดตั้งกลุ่ม
เครือข่ายของตัวเอง จัดให้มีกิจกรรมพบปะพูดคุยกันถึงปัญหาต่างๆ ในการดูแลเด็กอย่าง
สม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดกระบวนการกลุ่มช่วยเหลือกันและพัฒนาทักษะ การดูแลเด็กที่ยั่งยืนต่อไป
7. สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินงาน ในปีถัดไป
ปัจจัยสำคัญของการดำเนินโครงการ คือ การบูรณาการทั้ง 3 ส่วน คือ จิตแพทย์ ครู
และพ่อแม่
รางวัลพระปกเกล้า’ 64