Page 271 - 22221_Fulltext
P. 271
2 0
3) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพจิตใจและสมองของผู้สูงอายุโดยผสมผสานองค์ความรู้
ของสหสาขาวิชาชีพ 4) การปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของ
ผู้สูงอายุ 5) การจัดตั้งกองทุนหรือจัดให้มีสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุในเขตเทศบาล
6) การพัฒนาและนำใช้ข้อมูลในการส่งเสริม แก้ไขหรือจัดการกับปัญหาผู้สูงอายุ อย่างมี
ประสิทธิภาพ 7) การผสมผสานองค์ความรู้จากหลักวิชาการและจากภูมิปัญญาทางสังคม
วัฒนธรรมมาร่วมดำเนินการ 8) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการให้บริการ
การดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลนครขอนแก่น
จะมีความแตกต่างจากพื้นที่อื่นในด้านการบริหารจัดการ ดังนี้
1. การบริหารจัดการร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ทั้ง 8 แห่ง มีการจัดตั้ง
คณะกรรมการดำเนินงานจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องและหน่วยบริการฯ ทั้ง 8 แห่ง
มีการทบทวนกำหนดมาตรฐานการดูแลการบริหารจัดการเงินกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
ร่วมกัน โดยเน้นหลักความยุติธรรมและเท่าเทียมในการจัดบริการ เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุและ
ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการได้
๏ จัดรถรับส่งผู้สูงอายุที่เดินทางไม่สะดวกมารับบริการที่ศูนย์สร้างสุขผู้สูงอายุฯ
และทำกายภาพบำบัด
๏ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ (CG) คอยช่วยเหลือที่บ้าน / ระหว่างมีกิจกรรมที่ศูนย์สร้างสุข
ผู้สูงอายุ
๏ มีการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุและคนพิการที่มีภาวะพึ่งพิงเป็นประจำทุกปี
๏ มีระบบส่งต่อตามความต้องการและตามปัญหาที่พบ
๏ ส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีและลดภาวะพึ่งพิง
2. ศูนย์สร้างสุขผู้สูงอายุ ให้บริการครอบคลุมทั้งด้านกาย จิต ปัญญา สังคม
ที่เชื่อมประสานเป็นเนื้อเดียวกับระบบบริการปฐมภูมิและกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
มีการบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการศูนย์ (เทศบาล รพ.ขอนแก่น ชมรม วัดหนอง
แวง ชุมชน) และดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ
3. การใช้เทคโนโลยีสายรัดข้อมืออัจฉริยะ (Smart wristband) สำหรับผู้สูงอายุ
กลุ่มติดบ้าน ติดสังคม ในการช่วยให้ผู้สูงอายุรับรู้ภาวะสุขภาพ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพ
รางวัลพระปกเกล้า’ 64