Page 270 - 22221_Fulltext
P. 270
2
คนในชุมชน ยิ่งไปกว่านั้น คือ ยิ่งให้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้รับมากเท่านั้น เกิดความเจริญเติบโต
งอกงามของ “ความเอื้ออาทร” ในใจของมนุษย์ในสังคมเพิ่มมากขึ้น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
คุณค่าของ “การให้” อย่างมีคุณค่า “รับ” อย่างมีศักดิ์ศรี เกิดการเปลี่ยนแปลงจากคนอ่อนแอ
บางส่วนในสังคมเป็นคนเข้มแข็งขึ้น ไม่เป็นภาระของสังคม ช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว
ชุมชน สังคม สามารถลุกขึ้นมาดูแลตนเองและคนรอบข้างได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเป็น
“ผู้ด้อยโอกาส” มาเป็น “ผู้แบ่งปัน” และร่วมเป็นอาสาสมัครในการดูแลช่วยเหลือผู้อื่นร่วมกับ
ภาครัฐ เพิ่มขึ้น รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการภาครัฐ
ด้วยการบูรณาการทุกภาคส่วน เกิดภาพแห่งความสุข ความงดงามในใจแบบนี้ขึ้นในสังคม
เมืองขอนแก่น อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
นวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
(Long Term Care Digital Innovation)
จากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงเป็นสังคมผู้สูงอายุของเทศบาลนครขอนแก่น
ทำให้ประชากรวัยแรงงานต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุในจำนวนที่มากขึ้น ส่งผลต่อ
รายจ่ายที่มากขึ้น การออมและการลงทุนในครัวเรือนลดลง โดยเฉพาะในครอบครัวที่มี
ผู้สูงอายุ คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิงหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง จะทำให้ครอบครัวและภาครัฐมีรายจ่าย
เพิ่มขึ้นในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและการจัดสวัสดิการ ความยากจนและระดับการศึกษา
ที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังจบชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่าทำให้ขาดศักยภาพในการดูแลตนเอง
และมีความยากลำบากในการดำรงชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และคนพิการ
ในครอบครัวกลุ่มเปราะบางไม่ได้รับการดูแลจากครอบครัว ถูกทอดทิ้งหรือถูกทารุณกรรม
ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การพัฒนาศักยภาพให้ผู้สูงอายุ
คนพิการหรือประชาชนทั่วไปสามารถดูแลตนเองและคนในครอบครัวได้ จะช่วยลดความเสื่อม
ที่เกิดขึ้นตามวัยหรือจากโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ ลดการเป็นภาระพึ่งพิง ลดรายจ่ายของครอบครัว
และภาครัฐ ก่อให้เกิดความเอื้ออาทรในครอบครัวและชุมชน ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการ
เข้าถึงปัจจัยสี่และการบริการสาธารณะของกลุ่มเปราะบาง อีกทั้งเป็นการช่วยพัฒนาเมืองและ
ชุมชนอย่างยั่งยืน
เทศบาลนครขอนแก่น ร่วมกับศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลขอนแก่น
ได้ออกแบบชุดกิจกรรมระบบบริการและการดูแลสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการให้ครอบคลุม
8 ด้าน คือ 1) การพัฒนาระบบบริการสุขภาพและการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุทุกกลุ่ม
2) การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ครอบครัว อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและผู้เกี่ยวข้อง
รางวัลพระปกเกล้า’ 64