Page 200 - kpi22173
P. 200
“บทบาทสตรีถิ่นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบานในการเสริมสรางการมีสวนรวมของชุมชน
เพื่อปองกันและควบคุมการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 ในจังหวัดเชียงใหม”
มีความยืดหยุนตอประเด็นปญหาดานสุขภาพ ซึ่งเปนไปตามหลักการของ Alma-Ata Declaration 2018
วาดวยสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อดําเนินการอยางเรงดวนในการปองกันและสงเสริมการดูแลสุขภาพของ
ประชาชนเพื่อบรรลุเปาหมายสุขภาพดีถวนหนา ดังนั้นการดําเนินงานของ อสม. ในระหวางการแพรระบาด
ของโรค COVID-19 สงผลใหประสบความสําเร็จในการปองกันและควบคุมโรคภายใตแนวคิดสาธารณสุข
มูลฐาน โดยคานิยมที่อิงอยูกับความไวเนื้อเชื่อใจ (Trust-based value) ตามแนวคิดสําคัญของสาธารณสุข
มูลฐานที่ชวยใหผูคนที่อาศัยอยูในพื้นที่หางไกลจากการเขาถึงบริการสาธารณสุข
การที่ อสม. ไดประจําจุดตามดานระหวางจังหวัดแลวมีการสนองตอบตอมาตรการปองกันการ
แพรระบาดและมีความรวมมือกับคณะกรรมการสุขภาพระดับอําเภอ เพื่อประสานใหความชวยเหลืองาน
กับหนวยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวของและไมเกี่ยวของกับสุขภาพโดยตรงในการควบคุมโรค เนื่องจาก อสม. เปนคน
ในชุมชนที่ตนเองเติบโตมาจึงรูจักมักคุนกับสมาชิกคนอื่นๆ ในชุมชนเปนอยางดี ซึ่งทําใหไดรับความเชื่อมั่น
และไววางใจจากคนในชุมชน ดังนั้นความรวมมือในการคัดกรองและปฏิบัติตามแนวทางของรัฐเพื่อปองกัน
การแพรระบาดจึงประสบความสําเร็จ ความไววางใจระหวางชุมชนและผูใหบริการดานสุขภาพจึงมีความ
สําคัญเปนอยางมากในหวงเวลาของการแพรระบาด โดยเฉพาะอยางยิ่งในสถานการณที่เกิดปญหาและใน
ภาวะที่มีทรัพยากรอยูอยางจํากัด รวมทั้งยังมีประเด็นที่ตองพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การทํางานของ
อสม. โดยคณะผูวิจัยไดแบงประเด็นการนําเสนอแนวทางในการเสริมสรางการมีสวนรวมของสตรีถิ่น
อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบานเพื่อปองกัน เฝาระวังและควบคุมการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนาสายพันธุใหม 2019 ในจังหวัดเชียงใหม ออกเปน 2 สวนคือ สวนแรกเปนแนวทางเชิงนโยบายและ
สวนที่สองเปนแนวทางเชิงปฏิบัติ ดังนี้
1) แนวทางเชิงนโยบาย
1.1) ควรมีการบรูณาการขอมูลขาวสารเกี่ยวกับการแพรระบาดระหวางพื้นที่ของ อสม.
ใหมากขึ้น เพราะความสําเร็จในการควบคุมโรคนั้นยังจํากัดอยูเพียงบางอําเภอไมใชระดับจังหวัด เนื่องจาก
ขาดการสื่อสารอยางเปนระบบซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารขามจังหวัดเพื่อการแบงปนและ
กําหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีในการปองกันและควบคุมการแพรระบาดของโรค COVID-19 เชน ประเทศ
ไตหวันถือวาเปนตัวอยางที่ดีที่แสดงใหเห็นถึงระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการแจงเตือนคนใน
ทองถิ่นใหปองกันตนเองจากโรค COVID-19 ไดอยางมีประสิทธิภาพ อีกทั้งระบบการสื่อสารสงเสริมใหเกิด
การประสานความรวมมือขามภาคสวนของรัฐเพื่อบรรเทาการสูญเสียโอกาสและรายไดระหวางการแพร
ระบาด ในขณะที่การออกระเบียบตางๆ อาจสงผลตอการควบคุมโรค เชน อาจนําไปสูการกักตุนหนากาก
ขอมูลที่เปนเท็จเกี่ยวกับโรครวมถึงความลมเหลวในการควบคุมการอพยพ
199