Page 54 - kpi21662
P. 54

หลังจากคำนวณสัดส่วนของผลลัพธ์ส่วนเกิน ผลลัพธ์ทดแทน และ
                 ผลลัพธ์ที่เกิดจากองค์กรอื่นแล้ว ต้องนำไปหักออกจากปริมาณทั้งหมดของ
                 ตัวชี้วัดที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้มูลค่าตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดจาก
                 โครงการจริง ๆ ผลที่ได้จากกิจกรรมนี้เรียกว่า “กรณีฐาน” ซึ่งจะนำไป

                 แปลงเป็นมูลค่าทางการเงินต่อไป

                      ในรายงานการประเมินต้องระบุค่าและแนวทางการคำนวณตัวชี้วัด
                 แต่ละตัว หลังจากหักสัดส่วนผลลัพธ์ส่วนเกิน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากองค์กร
                 อื่น และผลลัพธ์ทดแทนออกแล้ว พร้อมอภิปรายแหล่งที่มาและ
         คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
                 ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ใช้เป็นมาตรฐานหรือบรรทัดฐาน


                      การจัดทำห่วงโซ่ผลลัพธ์ เมื่อกำหนดตัวชี้วัดสำหรับผลลัพธ์ที่สำคัญ
                 และหาค่าตัวชี้วัดทุกตัว ตลอดจนหักสัดส่วนผลลัพธ์ที่โครงการไม่ได้มี
                 ส่วนสร้าง ตามกิจกรรมที่ 1 – 7 แล้ว แสดงว่าผู้ประเมินได้ทำการประเมิน
                 ผลลัพธ์ทางสังคม (SIA) เสร็จสมบูรณ์แล้ว สามารถนำผลไปใช้ในการ

                 วางแผนและประเมินผลของโครงการได้เลย แต่หากต้องการจะประเมินผล
                 ตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จำเป็นต้องทำกิจกรรมที่ 8 -
                 10 ต่อไป


                 กิจกรรมที่ 8 การแปลงค่าตัวชี้วัดเป็นมูลค่าทางการเงิน
                 (Monetization)

                      เมื่อได้ผลลัพธ์ทั้งหมดที่มีค่าตัวชี้วัดเชิงปริมาณแล้ว ขั้นตอนนี้

                 เป็นการกำหนด “ค่าแทนทางการเงิน”สำหรับตัวชี้วัดแต่ละตัว ส่วนที่ยาก
                 ก็คือ ผลลัพธ์ทางสังคมบางประเภทไม่ได้มีการซื้อขายกันจึงไม่มี “ราคา
                 ตลาด” ให้อ้างอิง การหาค่าแทนทางการเงินของผลลัพธ์ทางสังคมดังกล่าว

                 อาจทำได้ด้วยการสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ใช้ราคาตลาดเทียบเคียง
                 หรือประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีทางเศรษฐศาสตร์ และอาจใช้ “ค่าเฉลี่ย”
                 ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อมูลอย่างละเอียดได้



                 สถาบันพระปกเกล้า
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59