Page 53 - kpi21662
P. 53
บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ หรือใช้เจ้าหน้าที่
ภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง เพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการสังเกตการณ์
แบบสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรมีอย่างน้อย 2 ส่วน คือ
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของผลลัพธ์ ได้แก่ ขนาดการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างประโยชน์อื่นใดอีกหรือไม่
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อมโยง ได้แก่ โครงการมีส่วนเพียงใด
ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ขึ้น และมีองค์กรอื่นใดอีกบ้าง
ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงนี้
ในรายงานการประเมินจะต้องอภิปรายแหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือ
ของข้อมูล และสิ่งที่ถูกคัดออกจากการประเมิน
กิจกรรมที่ 7 การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินกรณีฐาน
ผู้ประเมินจำเป็นต้องแยกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากโครงการและผลลัพธ์ คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากโครงการ (Attribution) ผ่านการสอบถามผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียหรือกลุ่มเป้าหมายของโครงการ แต่อาจมีข้อจำกัดคือ ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียอาจไม่สามารถระบุว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากปัจจัยใดบ้าง
และเป็นผลจากแต่ละปัจจัยคิดเป็นสัดส่วนเท่าไร นอกจากนี้ผู้ประเมินต้อง
คำนวณหา ผลลัพธ์ส่วนเกิน (Deadweight) และผลลัพธ์ทดแทน
(Displacement) จากแหล่งอ้างอิงภายนอก (เอกสารข้อมูล ประสบการณ์
และมาตรฐานที่มีอยู่) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการแบ่งสัดส่วนผลลัพธ์
แต่ก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่า ค่ามาตรฐานดังกล่าวตรงกับสถานการณ์จริงหรือไม่
หากกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มที่เข้าถึงยากหรือถูกละเลยการช่วยเหลือมานาน
ค่าผลลัพธ์ส่วนเกินจะมีแนวโน้มต่ำ ในทางกลับกันหากผลลัพธ์ส่วนเกิน
อยู่ในระดับสูง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคมจะไม่มีนัยสำคัญสำหรับ
การประเมินโครงการอีกต่อไป
สถาบันพระปกเกล้า