Page 52 - kpi21662
P. 52

“ความอยู่ดีมีสุขที่เพิ่มขึ้น” อันเป็นเป้าหมายไกล และสะท้อน
                 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ต้องการ

                      การเลือกตัวชี้วัดให้เริ่มต้นที่คำถามว่า อะไรคือวัตถุประสงค์ในการ
                 สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและจะวัดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

                 การสร้างตัวชี้วัดควรคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้เป็นหลัก ว่าให้ความคุ้มค่ากับ
                 ต้นทุนในการเก็บข้อมูลหรือไม่ ที่สำคัญควรมีความชัดเจนและถูกต้อง
                 มีความสม่ำเสมอสามารถเก็บข้อมูลซ้ำได้ในอนาคต และผู้ใช้สามารถเข้าใจ
                 ได้ง่าย ตลอดจนสามารถสะท้อนความเป็นจริง บริบททางสังคมและ
         คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
                 วัฒนธรรม ได้อย่างสมเหตุสมผล อย่างไรก็ดีในการประเมินผลควรทดสอบ

                 ตัวชี้วัดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อตรวจสอบว่าตัวชี้วัดที่เลือกสามารถ
                 สะท้อนการเปลี่ยนแปลงได้จริง

                      รายงานการประเมินจะต้องระบุ ตัวชี้วัดและแหล่งข้อมูลสำหรับ
                 ผลลัพธ์แต่ละประเด็น เตรียมรายการแหล่งข้อมูลที่จำเป็น และเตรียม

                 ประมาณการทรัพยากรและเวลาที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์

                 กิจกรรมที่ 6 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด


                      ผู้ประเมินดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลของตัวชี้วัดต่าง ๆ ตาม
                 นิยามที่ระบุไว้ในกิจกรรมก่อนหน้า จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในโครงการ
                 และแหล่งข้อมูลภายนอก ซึ่งการรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                 อาจทำได้โดยการนัดสัมภาษณ์ตัวต่อตัว การสื่อสารผ่านทางระบบ

                 อิเล็กทรอนิคส์ โทรศัพท์สอบถาม เชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาสอบถาม
                 โดยตรง จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยเปิดให้อภิปรายและทำการบันทึกผล
                 การตอบสนอง

                      ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินอาจจะวางระบบการเก็บข้อมูล
                 และทำการรวบรวมข้อมูลอย่างสม่ำเสมอตลอดปี อาจดำเนินการว่าจ้าง





               2 สถาบันพระปกเกล้า
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57