Page 51 - kpi21662
P. 51
หลังจากดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้น จะได้ห่วงโซ่ผลลัพธ์สำหรับ
ทั้งโครงการ โดยอาจแบ่งตามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่
ต้องใส่ในรายงาน
กิจกรรมที่ 5 การเลือกตัวชี้วัด (Social Impact Indicator)
หลังจากการเขียนห่วงโซ่ผลลัพธ์ หากผลผลิตมีความเชื่อมโยงกับ
ผลลัพธ์มักจะใช้ผลผลิตนั้นเป็นตัวชี้วัดโดยตรง แต่ถ้าผลผลิตยังไม่เชื่อมโยง
กับผลลัพธ์ ต้องหาตัวชี้วัดที่เหมาะสม ซึ่งมีวิธีการเก็บข้อมูลหลายรูปแบบ
ดังนี้
- ระบบเก็บข้อมูลภายใน (สำหรับผลผลิตสำคัญเป็นหลัก
ตัวอย่างเช่น จำนวนผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์การแพทย์
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนเงินที่ผู้สูงอายุประหยัด
ได้จากการไม่ต้องไปพบแพทย์เนื่องจากมีสุขภาพที่ดีขึ้น)
- แบบสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (สำหรับผลลัพธ์ต่อผู้มีส่วนได้ คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
ส่วนเสียเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุที่
เข้าอบรมอาชีพในโครงการ)
- แหล่งข้อมูลภายนอก (สำหรับผลลัพธ์ในวงกว้างเป็นหลัก
ตัวอย่างเช่น งบประมาณทางสาธารณสุขที่ใช้ในการดูแล
ผู้สูงอายุที่ลดลง)
ทั้งนี้ ตัวชี้วัดจะต้องสะท้อนผลลัพธ์ต่าง ๆ ในห่วงโซ่ผลลัพธ์ และมี
ลักษณะที่สำคัญ คือ ต้องสามารถวัดได้ สามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงได้
และสามารถใช้เปรียบเทียบข้ามเวลาและองค์กรได้ นอกจากนี้ตัวชี้วัด
ผลลัพธ์ ไม่ควรจำกัดอยู่เพียงผลลัพธ์ทางตรงที่เกิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เช่น “รายได้ที่เพิ่มขึ้น” หรือ “ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ลดลง”
เท่านั้น แต่ควรรวมถึงตัวชี้วัดที่สะท้อนผลลัพธ์ทางสังคมในวงกว้าง เช่น
สถาบันพระปกเกล้า 1