Page 50 - kpi21662
P. 50
วิธีปันส่วนรายรับและรายจ่ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของโครงการ (หากใช้
เครื่องมือ SROI)
กิจกรรมที่ 4 การจัดทำห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value
Chain)
การจัดทำห่วงโซ่ผลลัพธ์ ผู้ประเมินมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
1. กำหนด “ปัจจัยนำเข้า” “กิจกรรม” “ผลผลิต” และ “ผลลัพธ์”
ของโครงการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ “ห่วงโซ่ผลลัพธ์” โดยคำนึงถึงผู้มี
คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
ส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มที่รวมอยู่ในการประเมิน และจัดทำห่วงโซ่ผลลัพธ์
อาจจัดทำจากแหล่งข้อมูลภายในอย่างเดียว เช่น เอกสารบันทึกการทำงาน
หรือหลักฐานทางการเงิน หรือพิจารณาร่วมกับบทสัมภาษณ์ แบบสำรวจ
หรือแบบสอบถามของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็ได้
2. นับรวมเฉพาะผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการเท่านั้น
เพื่อไม่ให้เกิดผลลัพธ์ที่สูงเกินจริง โดยคัดส่วนที่เป็นผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น
แม้ไม่มีการดำเนินโครงการ (Deadweight) ออก
การจัดทำห่วงโซ่ผลลัพธ์อาจมีมากกว่า 1 ห่วงโซ่ขึ้นกับทฤษฎี
การเปลี่ยนแปลงที่เขียนขึ้นของโครงการนั้น ทั้งนี้ผู้ประเมินอาจจัดทำห่วงโซ่
ผลลัพธ์โดยไม่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมเข้าร่วมเลยก็ได้ แต่ผลลัพธ์ที่
คาดว่าจะเกิดขึ้นอาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ตัวอย่างเช่น ผู้ดำเนินโครงการ
ทางสังคมที่เน้นการสร้างงานให้กับผู้สูงอายุอาจมองว่าผลลัพธ์หลักคือ
“การที่ผู้สูงอายุมีงานทำ” แต่สำหรับผู้สูงอายุผลลัพธ์ที่พวกเขามองว่าเป็น
ประโยชน์จริง ๆ อาจเป็น “การมีงานทำและรักษาตำแหน่งงานนั้นได้ติดต่อ
กัน 12 เดือน” มากกว่าแค่การ “ มีงานทำ” ดังนั้นการให้ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำห่วงโซ่ผลลัพธ์ จะทำให้เห็น
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามสถานกาณ์จริงหรือตามความต้องการ
ที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ดีกว่า
0 สถาบันพระปกเกล้า