Page 55 - kpi21662
P. 55
ผู้ประเมินควรหลีกเลี่ยงการ “นับซ้ำ” มูลค่าที่โครงการสร้าง
การตรวจสอบการนับซ้ำให้แยกการประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทนทาง
สังคมตามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละฝ่าย ทั้งนี้การกำหนดและการคำนวณ
ค่าแทนทางการเงินที่ออกมาเป็นตัวเลข ควรมีคำอธิบายการคำนวณค่า
เหล่านั้นประกอบด้วย วิธีการคำนวณอาจมีได้หลายกรณีไม่ใช่เฉพาะแต่
“กรณีฐาน” เท่านั้น เพื่อจะได้ทราบว่ามูลค่าของผลลัพธ์และผลตอบแทน
ทางสังคมนั้นอ่อนไหวเพียงใดต่อตัวชี้วัดดังกล่าว การประเมินในลักษณะนี้
เรียกว่า “การวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis)” ผู้ประเมิน
อาจใช้ผลการศึกษา งานวิจัยภายในโครงการหรือจากนักวิจัยภายนอก
เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของค่าแทนทางการเงินได้
กิจกรรมที่ 9 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย เงินลงทุน รายรับ-
รายจ่าย และความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
กิจกรรมนี้เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
ตลอดจนความสัมพันธ์ของรายจ่ายเหล่านั้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้ประเมินดำเนินการดังนี้
1. ระบุรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่กำลังทำ และวิเคราะห์แยก
ระหว่างค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงาน หรือเงินลงทุนสำหรับสร้างผลลัพธ์
ทางสังคมที่จะเกิดขึ้นหลังดำเนินโครงการ การจัดประเภทค่าใช้จ่ายนี้
จะเป็นตัวกำหนดกรอบเวลาในการประเมินผลตอบแทนทางสังคม หากรายจ่าย
เกือบทั้งหมดของโครงการเป็นเงินลงทุนที่ต้องใช้เวลามากกกว่าหนึ่งปีจึงจะ
เกิดผลลัพธ์ทางสังคมได้ ดังนั้นการประเมินควรประเมินผลตอบแทนทาง
สังคมหลังจากผ่านไปหนึ่งปี จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ปรากฎได้ชัดเจน
2. ระบุการปันส่วนค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทตามการใช้ประโยชน์
เช่น การใช้อาคารหลังหนึ่งอาจปันส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับอาคารตาม
สัดส่วนเวลาหรือพื้นที่ที่ใช้สำหรับแต่ละกิจกรรม นอกจากนี้ผู้ประเมินต้อง
สถาบันพระปกเกล้า