Page 223 - kpi21365
P. 223

ระดับสูงที่สุด จ านวน 3 องค์ประกอบ และมีระดับการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับสูง จ านวน 5

                     องค์ประกอบ  โดยเรียงล าดับ 5 องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้ การยึด

                     ประชาชนเป็นศูนย์กลาง การบริหารงานแบบบูรณาการ ความทันสมัยในการปฏิบัติงาน ความโปร่งใส
                     ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ กฎหมายกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง บุคลากรภาครัฐ สิทธิมนุษยชน

                     และความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม และองค์ประกอบขนาดขององค์กรและการมีส่วนร่วมของ

                     ภาคประชาชน ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยสามารถอภิปรายผลการวิจัยดังกล่าว จ าแนกตามองค์ประกอบการ
                     ขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการสู่การปฏิบัติ

                     ขององค์กรภาครัฐในประเทศไทยได้ตามล าดับ ดังนี้

                                  2.1.1 องค์ประกอบการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าเป็น
                     องค์ประกอบที่มีระดับการด าเนินงานสูงที่สุดมากเป็นล าดับแรกนั้น เป็นผลการมาจากการที่หน่วยงานได้

                     มีการพัฒนาระบบการให้บริการ เพื่ออ านวยความสะดวกในการบริการประชาชน ผู้ประกอบการ และ

                     ภาคธุรกิจ โดยมีการพัฒนาการให้บริการที่รวดเร็วโดยการน าเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ภายใน
                     หน่วยงาน อีกทั้งได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการท างาน จากการท างานตามภารกิจที่กฎหมายก าหนดมาเป็น

                     การให้บริการที่ให้ความส าคัญกับผู้มารับบริการ จึงส่งผลให้องค์ประกอบการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

                     มีระดับด าเนินงานอยู่ในระดับสูงที่สุด ทั้งนี้ ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับสอดคล้องกับงานวิจัยของ
                     ศิรินันท์ หล่อตระกูล (2560) ที่ได้วิจัยเรื่องรูปแบบการน านโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วน

                     จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยผลการวิจัยได้อธิบายถึงปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการน านโยบายไปปฏิบัติ

                     ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ เนื่องจากเป็นตัวแปรที่ช่วยส่งเสริมให้การท างานขององค์กรมี
                     ความรวดเร็วสามารถอ านวยความสะดวกให้แก่ประชากรผู้มารรับบริหารได้เป็นอย่างดี

                                 2.1.2 องค์ประกอบการบริหารงานแบบบูรณาการ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าระดับ

                     ด าเนินงานอยู่ในระดับสูงที่สุดนั้น เป็นผลการมาจากการที่หน่วยงานมีได้มีการก าหนดแผนการ
                     ปฏิบัติงานโดยการใช้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นกลไกการด าเนินงาน มีการจัดท าระบบติดตามประเมินผลที่

                     สะท้อนการบรรลุเป้าหมายการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ หน่วยงานยังสนับสนุนการ

                     ปฏิบัติงานแบบบูรณาการตามภารกิจยุทธศาสตร์เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้สังกัดตนเองและ
                     หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถด าเนินได้ตามเป้าหมายที่ก าหนดไว้ จึงส่งผลให้องค์ประกอบการ

                     บริหารงานแบบบูรณาการมีระดับด าเนินงานอยู่ในระดับสูงที่สุด ทั้งนี้ ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับ

                     ผลการวิจัยของ นงณภัทร รุ่งเนย และคณะ (2551) ที่ได้วิจัยเรื่องการประเมินผลการด าเนินงานตาม
                     แผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจ าปีงบประมาณ 2550 ของวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัด

                     เพชรบุรี โดยผลการวิจัยพบว่า การที่หน่วยงานมีการก าหนดแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจ าปีที่
                     เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาตินั้น เป็นองค์ประกอบส าคัญในการที่จะช่วยให้พัฒนาองค์กรได้สอดคล้องกับ

                     สภาพองค์กรและบริบทที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผลการวิจัยดังกล่าวยังสอดคล้องกับแนวคิดแผน



                      โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :                204
                      ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228