Page 159 - kpi21365
P. 159
ดังนั้น เมื่อทราบว่าค่าคะแนนรวม F (รวม) มีค่าเท่ากับ 10 และค่าคะแนนเต็ม n (เต็ม) มีค่าเท่ากับ 16
ผู้วิจัยจะสามารถท าการแปลงค่าคะแนนดังกล่าวที่อยู่ในรูปความถี่ให้เป็นค่าร้อยละด้วยวิธีการเทียบ
บัญญัติไตรยางค์ต่อไป
3.2 ตัวอย่างการแปลงค่าคะแนนที่ได้รับตามตัวอย่างให้เป็นค่าร้อยละด้วยวิธีการเทียบ
บัญญัติไตรยางค์ ซึ่งสามารถท าได้โดยการแทนค่าในสูตรการแปลงค่าคะแนนข้างต้น ดังนี้
สูตรการแปลงค่าคะแนน
P = F (รวม) x 100
n (เต็ม)
แทนค่า
P = 10 x 100
16
P = 62.50
ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า ระดับการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ในด้านการยึด
ประชาชนเป็นศูนย์กลางที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างรายนี้ มีระดับการด าเนินงานในด้านการยึดประชาชนเป็น
ศูนย์กลางเท่ากับร้อยละ 62.50
3.3 คณะผู้วิจัยท าการน าค่าร้อยละที่ได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลไปเปรียบเทียบกับ
เกณฑ์การแปลความหมายที่ได้ก าหนดไว้ ซึ่งพบว่าการด าเนินงานในด้านการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมีค่า
เท่ากับร้อยละ 62.50 ซึ่งสามารถแปลผลได้ว่ามีการด าเนินงานอยู่ในระดับสูง
4. การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐ
ตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์กรภาครัฐใน
ประเทศไทย จ าแนกตามประเภทกลุ่มกระทรวง และสังกัดกระทรวง มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การ
วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียวชนิดไม่มีตัวแปรร่วม (One-way MANOVA)
5. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษา สภาพปัญหา อุปสรรคในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การ
ปฏิบัติขององค์กรภาครัฐตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
ตลอดจนการศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานที่สอดคล้องและเป็นไปตามเป้าหมายของ
ยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย
ผู้วิจัยจะวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้รับ (Content Analysis) และท าการจัดกลุ่ม
ข้อสนเทศที่ได้รับ (Text Grouping) จากนั้นจะท าการสรุปในเชิงพรรณนาความ
โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
140
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ