Page 133 - kpi21365
P. 133
เป้าหมาย ตัวชี้วัด แนวทางการพัฒนา
(4) หน่วยงานต ารวจ สร้างความเป็นอิสระของหน่วยงาน ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง ถ่ายโอนภารกิจที่มิใช่ภารกิจหลักของต ารวจกลับไป
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด าเนินการ สร้างกลไกการตรวจสอบ ถ่วงดุลการใช้อ านาจของต ารวจ รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนใน
กิจการของต ารวจ และมีการประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต ารวจ
2) พัฒนาระบบการประเมินประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมด้วยตัวชี้วัดคุณภาพกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ และมีกระบวนการก าหนด
ตัวชี้วัดเป็นระบบเปิด ให้สามารถเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลและประชาชนติดตามตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมได้ทั้ง
ในระยะกลางและระยะยาว
3) เร่งรัดด าเนินการคดีในกระบวนการยุติธรรม และพิจารณาน ามาตรการลงโทษระยะปานกลางมาใช้
4) ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือกและการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรม โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านกฎหมายและ
กระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และพัฒนากลไกคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประชาชนผู้
ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมและความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน
5) พัฒนากลไกการก ากับดูแลและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมแก่ประชาชนของประเทศ
6) พัฒนาระบบการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และ
ไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร โดยพัฒนาการสืบสวน สอบสวนและด าเนินคดีต่อผู้กระท าผิด พัฒนาระบบเทคโนโลยีในกระบวนการยุติธรรมทั้งทาง
แพ่งและอาญาเพื่อเป็นช่องทาง (Platform) รองรับการเข้าถึงของระชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศกลาง
ของกระบวนการยุติธรรมทั้งทางแพ่งและอาญา
ที่มา : ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559.
โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
114
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ