Page 130 - kpi21365
P. 130
เป้าหมาย ตัวชี้วัด แนวทางการพัฒนา
3) เร่งรัดหน่วยงานภาครัฐให้มีการด าเนินงานในการก าหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤตมิชอบอย่างเคร่งครัด โดย
ติดตามผลการด าเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของทุกหน่วยงานของรัฐอย่างต่อเนื่อง
4) เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตให้สามารถเป็นหน่วยงานหลักของภาครัฐในการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบที่บูรณาการการทางานร่วมกันอย่างมีกลยุทธ์
3.5.3 ปราบปรามการทุจริต
1) ปฏิรูปโครงสร้างองค์กรอิสระและหน่วยงานที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน
(1) พิจารณาให้องค์ประกอบของคณะกรรมการองค์กรอิสระ อาทิคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการ
ตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มี
ความหลากหลาย ยึดมั่นธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงาน และด ารงต าแหน่งได้เพียงวาระเดียวภาครัฐ
(2) สร้างกลไกการปฏิบัติงานให้เป็นเอกภาพระหว่างองค์กรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยควรควบรวมองค์กรตรวจสอบการใช้
อ านาจรัฐด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้แก่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เข้ากับ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
(3) จัดให้มีกลไกที่ท าหน้าที่บูรณาการความร่วมมือเรื่องข้อมูล ข่าวสารกิจกรรมปราบปรามและการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้
เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ทั้งในภาครัฐเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ
2) ปฏิรูปบทบาทอ านาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ท าหน้าที่ตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ให้มีอ านาจหน้าที่เฉพาะการวินิจฉัย
ชี้ขาดคดีที่มีมูลคดีเป็นการทุจริตและประพฤติมิชอบ ส่วนอ านาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนให้เป็นความรับผิดชอบของส านักงานที่อยู่ในรูปของ
“คณะกรรมการสืบสวนสอบสวน”
โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
111
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ