Page 129 - kpi21365
P. 129
เป้าหมาย ตัวชี้วัด แนวทางการพัฒนา
ที่มีหน้าที่ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบและภาคประชาสังคม
เป็นภาคีร่วมกันต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบรวมทั้งพัฒนา
กลไกตรวจสอบธรรมาภิบาลในทุกภาคีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ
7) พัฒนาสร้างเครือข่ายและคุ้มครองการแจ้งเบาะแสการทุจริต
และประพฤติมิชอบในกลุ่มประชาชน
3.5.2 ป้องกันการทุจริต
1) ปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารพัสดุและการจัดซื้อ
จัดจ้างภาครัฐให้มีระบบที่โปร่งใสตรวจสอบได้
และมีประสิทธิภาพต่อการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
การจัดซื้อจัดจ้าง และการท าสัญญาอื่น ๆ ที่ภาคเอกชนทาสัญญากับรัฐ ให้มีกฎหมายห้ามมิให้น างบประมาณแผ่นดินไปใช้ประชาสัมพันธ์ตนเองใน
เชิงหาเสียง ไม่ให้มีการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวมในขณะด ารงต าแหน่งที่สามารถใช้อานาจรัฐได้ และปรับปรุงกฎหมาย
เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารสาธารณะ รวมทั้งการลดการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยให้มีการก าหนดขั้นตอนการด าเนินงาน
กระบวนการและแนวทางการตัดสิน ระยะเวลาแล้วเสร็จ และเอกสารที่ใช้ในการขออนุญาตหรืออนุมัติจากทางราชการให้ระบบงานทั้งระบบ
โปร่งใสตรวจสอบได้ โดยเฉพาะโครงการที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริตให้มีการจัดท าสัญญาคุณธรรม และเพิ่มบทลงโทษภาคเอกชนด้วย
2) จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการต่อต้านการทุจริต การคุ้มครองพยานในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ กลไกการ
ทุจริตและวิธีการเฝ้าระวังการทุจริต รวมถึงแนวทางการสนับสนุนการสร้างกิจกรรมการป้องกันการทุจริตของภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตลอดจน
พิจารณารูปแบบการจัดสรรงบประมาณด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบให้มีความเหมาะสมและเพียงพอกับการปฏิบัติงาน
และสถานการณ์การคลังของประเทศ
โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
110
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ