Page 131 - kpi21365
P. 131

เป้าหมาย      ตัวชี้วัด                                                     แนวทางการพัฒนา
                                   3) เพิ่มอัตราโทษในการทุจริตและประพฤติมิชอบที่ใกล้เคียงกันระหว่างผู้ให้และผู้รับสินบน โดยเฉพาะการเพิ่มโทษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระท า

                                   ความผิดในกรณีรับสินบนหรือใช้ต าแหน่งหน้าที่ในการทุจริตและประพฤติมิชอบ

                                   4) เพิ่มมาตรการลงโทษทางสังคมที่รุนแรงและเพียงพอที่จะท าให้เกิดความยั้งคิดต่อการกระท าการทุจริตรวมทั้งสร้างแนวร่วมการลงโทษทางสังคม
                                   ที่รุนแรงต่อผู้ทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยการใช้สื่อทุกรูปแบบ

                                   3.6 ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้มีความทันสมัย เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้อบังคับสากลหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ

                                   เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาค ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความมั่นใจ ยอมรับ และปฏิบัติตามกติกา เอื้อต่อภารกิจภาครัฐ การ
                                   ลงทุนและด าเนินธุรกิจภาคเอกชน

                                   ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ลดความเหลื่อมล้ า และเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

                                   และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการวินิจฉัยคดีมีความถูกต้อง รวดเร็วโปร่งใส และเป็นธรรม
                                   ตามหลักนิติธรรมและลดปริมาณผู้กระท าผิดในที่ควบคุม โดย

                                   3.6.1 ปฏิรูปกฎหมายให้ทันสมัย

                                   1) เร่งรัดให้กระทรวง กรม หรือหน่วยงานเทียบเท่า ปรับปรุงแก้ไข ยกเลิกกฎหมายกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ ที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรม
                                   หมดความจ าเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์และความพร้อมของการน าไปปฏิบัติ เป็นอุปสรรคต่อการด ารงชีวิต ไม่เป็นไปตามข้อตกลง

                                   ระหว่างประเทศและเป็นอุปสรรคต่อการยกระดับสู่ประเทศที่มีรายได้สูงตามข้อก าหนดในพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของ

                                   กฎหมาย พ.ศ. 2558
                                   2) น าเครื่องมือการวิเคราะห์ผลกระทบของการออกกฎหมาย ( Regulatory Impact Assessment: RIA) มาใช้ตรวจสอบความจ าเป็นที่จะต้อง

                                   ปรับปรุงกฎหมายเดิม และการออกกฎหมายใหม่ทุกครั้งก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณารวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในลักษณะสหวิชาให้

                                   สามารถพัฒนาและใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ผลกระทบการออกกฎหมายตั้งแต่ก่อนออก ระหว่างบังคับใช้ และภายหลังการบังคับใช้ไประยะหนึ่ง




                                         โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
                                                                                                                                    112
                                         ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136