Page 135 - kpi21365
P. 135
มีตัวชี้วัดความส าเร็จของการด าเนินการแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินในระยะ 5 ปี ที่เน้น
การท าให้บริการภาครัฐสามารถแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชน โครงสร้างและ
ระบบงานภาครัฐมีประสิทธิภาพสูง เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนและบูรณาการกันอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรภาครัฐมี
ขีดสมรรถนะสูง ปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ มีคุณภาพ ยึดมั่นในคุณธรรม พร้อมน าการพัฒนาประเทศและภาครัฐมี
นวัตกรรมการบริหารจัดการและนวัตกรรม การให้บริการประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งภาพลักษณ์
ของภาครัฐไทยในเวทีโลกได้รับการยอมรับ
กลไกส าคัญในการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงในภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย “6 เรื่อง - 24 กลยุทธ์ - 56 แผนงาน”โดยมี
รายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ 1 บริการภาครัฐ สะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน
ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) เพิ่มสมรรถนะของหน่วยงานภาครัฐในการตอบสนองต่อประชาชนใน
สถานการณ์หรือภาวะฉุกเฉิน (2) ยกระดับการให้ข้อมูลและให้ค าปรึกษาจากหน่วยงานของรัฐ และ (3) ยกระดับ
การให้บริการประชาชนสู่การบริการที่เร็วขึ้น ง่ายขึ้น และถูกลง
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ 2 ระบบข้อมูลภาครัฐมีมาตรฐาน ทันสมัย และเชื่อมโยงกัน ก้าวสู่
รัฐบาลดิจิทัล ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) บูรณาการและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานรัฐบาลดิจิทัล (2) น า
ระบบดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงาน และการบริหารราชการ และ (3) บูรณาการข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐเพื่อการ
บริหารราชการแผ่นดิน
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ 3 โครงสร้างภาครัฐกะทัดรัด ปรับตัวได้เร็วและระบบงานมี
ผลสัมฤทธิ์สูง ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารงานของรัฐ และ
ลด/ละลายความเป็นนิติบุคคลของกรม (2) เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความเข้มแข็งของการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
(3) พัฒนาขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) พัฒนาระบบ
งบประมาณและการคลังภาครัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ (5) สร้างระบบธรรมาภิบาลที่ยั่งยืนใน
หน่วยงานภาครัฐ และ (6) พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่
เปลี่ยนแปลงไป
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ 4 ก าลังคนภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมและมีสมรรถนะสูง พร้อม
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) จัดก าลังคนให้สอดคล้องกับความจ าเป็นในการ
บริการสาธารณะที่ส าคัญ และขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (2) ลดขนาดก าลังคนและ
ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐที่มีผลผูกพันภาระงบประมาณในระยะยาว (3) พัฒนาทักษะและสมรรถนะใหม่เพื่อสร้าง
โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
116
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ