Page 137 - kpi21365
P. 137
ประชาชนตามหน้าที่ที่ได้รับโดยไม่ค านึงถึงอามิสสินจ้าง 2.6 ให้มีการแสดงฐานะทางการเงินของเจ้าพนักงานของรัฐ
ที่เปิดเผย ตรวจสอบได้ 2.7 ให้เจ้าพนักงานของรัฐอื่น (ผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรอิสระ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน) และเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ
ซื่อตรง (Integrity) เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง 2.8 ผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยข้อมูล
ข่าวสารสาธารณะภายใน 2 ปี ที่ประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องร้องขอ (ตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา 59, 253) 2.9 ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีมาตรการควบคุมภายในที่ดีและมีส่วนร่วมในแนวร่วม ปฏิบัติ
ภาคเอกชนต้านทุจริต (CAC) 2.10 ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบงานภาครัฐ อย่างมีประสิทธิผล
2.11 ท าให้การให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจไม่พึงกระท า 2.12 ให้มีมาตรการที่เป็นไปได้ใน
การสืบหาและก ากับดูแลการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของตนซึ่งเงินสดและตราสารเปลี่ยนมือได้
3. ด้านการปราบปราม ประกอบด้วย 11 กลยุทธ์หลัก 3.1 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่
ต้องด าเนินมาตรการทางวินัย มาตรการทางปกครอง และมาตรการทางกฎหมายต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดที่ถูก
กล่าวหาหรือพบเหตุอันควรสงสัยว่าประพฤติมิชอบ หรือกระท าการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเคร่งครัด 3.2
เร่งรัดผลักดันให้เกิดการใช้หลักนิติบุคคลของรัฐ เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบและมีอ านาจในการด าเนินคดีเกี่ยวกับการ
ทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างมีประสิทธิภาพ 3.3 ให้มีกฎหมายก าหนดความผิดจากการกระท าโดยเจตนาของเจ้า
พนักงานของรัฐที่ทุจริตต่อหน้าที่ การใช้อ านาจโดยมิชอบ และการร่ ารวยผิดปกติที่ชัดเจน เพื่อความรวดเร็วในการ
ไต่สวนและเป็นไปตามมาตรฐานสากล (อนุวัติการตาม UNCAC 2003) 3.4 ให้มีการผนึกพลังความร่วมมือจากทุก
ภาคส่วนและหน่วยงานตรวจสอบของรัฐในการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยลดการกระท าผิดวินัย
ด้วยการเฝ้าระวังจากทุกภาคส่วนและมีกลไกรองรับการรวมตัวของภาคประชาชนด้วย 3.5 กรณีที่หัวหน้าส่วน
ราชการหรือหน่วยงานของรัฐละเลย ละเว้น รู้เห็นเป็นใจ หรือมีสถานะเป็นผู้ถูกกล่าวหาในกรณีทุจริตหรือประพฤติ
มิชอบ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ด าเนินการตามอ านาจหน้าที่โดยแจ้งให้ผู้มีอ านาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนใช้
อ านาจทางปกครอง (ย้าย/พักราชการ/พ้นจากราชการ) ทันที 3.6 การกวดขันวินัยให้มีประสิทธิผลทางปฏิบัติ 3.7
ออกแบบกระบวนการบริหารคดีใหม่ ให้มีขั้นตอนเท่าที่จาเป็นเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว 3.8 จัดท าและบูรณาการ
โครงข่ายฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของทุกหน่วยงาน 3.9 เร่งรัดติดตามน าทรัพย์สินที่
เกิดจากการกระท าผิดทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ตกเป็นของแผ่นดิน 3.10 ยกระดับการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการเฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแสเมื่อพบเห็นการกระท าทุจริตโดยทุกช่องทาง รวมทั้งการฟ้องร้อง
หน่วยงานของรัฐที่ไม่ท าตามอ านาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ 3.11 ในกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายที่สอดคล้องกับ
มาตรฐานสากลก็ให้เร่งบัญญัติเพิ่มเติม
โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
118
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ