Page 542 - kpi21298
P. 542

จำนวน 2 คน (คิดเป็นร้อยละ 0.77) และสุดท้ายได้แก่ ตัวแทนสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน
                       1 คน (คิดเป็นร้อยละ 0.38)


                               3.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามและ
                       ประเมินผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรที่ได้รับรางวัลในประเทศไทย
                                   ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผล

                       การนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรในประเทศไทย พบว่า ความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการ

                       ติดตามและประเมินผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วน
                       ท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลใน

                       ประเทศไทยโดยรวม มีระดับความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผลการนำหลัก

                       ธรรมาภิบาลไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามและ
                       ประเมินผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลในประเทศ

                       ไทยโดยรวม มีระดับความเหมาะสมในการนำไปใช้เพื่อติดตามและประเมินผลการนำหลัก

                       ธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐอยู่ในระดับมาก โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า
                       มีระดับความเหมาะสมในการนำไปใช้เพื่อติดตามและประเมินผลฯ อยู่ในระดับมากทั้ง 10

                       องค์ประกอบ โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมในการนำไปใช้จากมากไปหาน้อยได้

                       ดังนี้  หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม หลักเทคโนโลยีสารสนเทศ
                       และการสื่อสาร หลักการบริหารจัดการ  หลักความโปร่งใส หลักสำนึกรับผิดชอบ  หลักการเป็น

                       องค์กรแห่งการเรียนรู้ และสุดท้ายได้แก่ หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


                       4. สรุปผลการสร้าง Platform ตัวชี้วัดมาตรฐานของ Good Governance

                       Mapping (การวิจัยระยะที่ 4)


                               จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณของการวิจัยระยะที่ 4 นี้ สามารถสรุป

                       ผลการวิจัยได้ดังนี้
                               4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาล


                                 จากผลการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลโดยการใช้

                       สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันสามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลที่มีค่า
                       สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่ .90 ขึ้นไป มีจำนวน 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) องค์ประกอบ

                       หลักการเป็นองค์กรการเรียนรู้ (R = .905) 2) องค์ประกอบหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
                       (R = .912) 3) องค์ประกอบหลักการบริหารจัดการ (R = .909) และ 4) องค์ประกอบหลักเทคโนโลยี

                       สารสนเทศและการสื่อสาร (R = .914) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าองค์ประกอบหลักการเป็นองค์กรการ

                       เรียนรู้ ควรได้รับการจัดนิยาม และตัวชี้วัดขององค์ประกอบรวมเข้าไว้ในองค์ประกอบหลักคุณธรรม




                                                      โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)   506
   537   538   539   540   541   542   543   544   545   546   547