Page 545 - kpi21298
P. 545
พระปกเกล้า ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบการวัดหลักธรรมาภิบาลที่สำคัญ จำนวน 10 ประการ
ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักสำนึก
รับผิดชอบ 6) หลักความคุ้มค่า 7) หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 8) หลักการเป็นองค์การแห่งการ
เรียนรู้ 9) หลักการบริหารจัดการ และ 10) หลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อีกทั้งจาก
นอกจากผลการวิจัยของ นิชาภา เชยะสิทธิ์ วัชระ คำเขียว และ พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิต (2561) ที่ได้
ศึกษาวิจัยเรื่อง องค์ประกอบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรมทรัพยากรนํ้าบาดาล ซึ่ง
ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของ
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักเปิดเผย/โปร่งใส 2) หลัก
ประสิทธิผล 3) หลักคุณธรรม/จริยธรรม 4) หลักประสิทธิภาพ 5) หลักการตอบสนอง 6) หลักภาระ
รับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบ 7) หลักนิติธรรม 8) หลักการกระจายอำนาจ 9) หลักการมีส่วนร่วม/
การพยายามแสวงหาฉันทามติ และ 10) หลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยในการติดตาม
และประเมินผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัตินั้นเป็นการตัดสินคุณค่าอันมีลักษณะที่เป็น
นามธรรม ซึ่งการตัดสินคุณค่าหรือ value ที่เป็นนามธรรมนั้น จำเป็นจะต้องหาความเป็นรูปธรรมของ
สิ่งนั้นให้ใด้ (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2560) โดยองค์ประกอบการวัดหลักธรรมาภิบาล จำนวน 10 หลักนี้
เป็น Model หรือเป็นกรอบตามทฤษฎีการตัดสินคุณค่าที่จะนำไปสู่การกำหนดความเป็นรูปธรรมซึ่ง
ได้แก่ ตัวชี้วัด (indicator) ที่เราสามารถสังเกต หรือ observe ได้ โดยมีความเป็นปรนัยตามหลัก
วิทยาศาสตร์ในการเป็นตัวสะท้อนหรือเป็นตัวแทนของคุณค่าเหล่านั้นได้ด้วยการใช้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
สิ่งนั้นเพื่อบอกสภาพ หรือสภาวะในเชิงคุณค่าของสิ่งที่ต้องการประเมินตามปรัชญาฐานคติของการ
วิจัยเชิงปริมาณ
อย่างไรก็ตามจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดหลักธรรมาภิบาลโดย
การอธิบายหลักสำคัญขององค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลเพื่อสังเคราะห์จุดร่วมสำคัญ (Key points)
จากการอธิบายหลักสำคัญขององค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลตามแนวคิดของ World Bank (1992);
UNDP (1999); UNESCAP (2008); สำนักนายกรัฐมนตรี (2542); คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(2543); กระทรวงมหาดไทย (2543); พระราชกฤษฎีกา (2546); คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(2546); สถาบันพระปกเกล้า (2552) และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2553) คณะผู้วิจัยได้
พบว่าแม้ว่าจะมีการอธิบายหลักธรรมาภิบาลรวมถึง 10 องค์ประกอบ แต่เมื่อพิจารณาจากการ
สังเคราะห์จุดร่วมสำคัญ (Key points) ได้มีการพบว่าองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลมีจุดร่วม
สำคัญ 4 องค์ประกอบที่ทุกองค์กรนิยามตรงกัน ประกอบด้วย 1) หลักนิติธรรม 2) หลักความโปร่งใส
3) หลักการมีส่วนร่วม และ 4) หลักความรับผิดชอบ ดังนั้นจึงสามารถสรุปในทางทฤษฎีได้ว่า
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลมีจุดร่วมสำคัญ 4 ประการ ซึ่งจากทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ดังกล่าวนั้น คณะผู้วิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่าองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลซี่งมีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ
ต่างกัน ได้มีการกำหนดและอธิบายองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลตลอดจนนิยามความหมายที่
โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2) 509