Page 548 - kpi21298
P. 548

ดังนั้นเพื่อที่จะสร้างธรรมาภิบาลที่ดีกว่า (Better Governance) นอกจากจะคำนึงถึง
                       ความเป็นปรนัยของตัวชี้วัดตามปรัชญาฐานคติของการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีความเป็นวิทยาศาสตร์

                       และอาจขาดความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน จึงจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงแนวทางต่าง ๆ เพื่อให้

                       สอดคล้องกับสถานการณ์ของตน (Park, 2004) มากกว่าการพยายามนำธรรมาภิบาลตามแบบทฤษฎี
                       ของสากลมาใช้โดยขาดการปรับใช้ อีกทั้งการนำความคิดธรรมาภิบาลในแบบสากลมาใช้โดยไม่มีการ

                       ปรับนั้น ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิซาการบางกลุ่ม เช่น โกวิทย์ กังสนันท์ (2552) ว่าการจะนำ

                       แนวคิดและหลักการธรรมาภิกบาลภาครัฐไปประยุกต์ใช้ในโลกความเป็นจริงนั้น ควรมีการศึกษาวิจัย
                       รองรับเนื่องจากหลายส่วนของธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ

                       วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทสังคมไทยที่การจัดการสาธารณะมักจะเน้นการ

                       ลอกเลียนแบบและกระทำอะไรแบบง่ายๆ โดยมองข้ามความสำคัญของความรู้ ความเข้าใน
                       ระดับพื้นฐานและความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ที่ซับซ้อน ซึ่งผลการสร้าง Platform ตัวชี้วัดมาตรฐาน

                       ของ Good Governance Mapping ที่ได้รับจากการวิจัยระยะที่ 4 นั้นมีสอดคล้องกับข้อสนเทศที่

                       ได้รับจากการวิจัยของ สามารถ รัยกร (2562) ที่ได้กล่าวถึงธรรรมาภิบาลว่าไม่จำเป็นต้องอธิบายเป็น
                       หลักการตามตัวแบบ แต่ให้เกิดจากหัวใจ 4 ห้องที่ประกอบด้วย 1) Care การตระหนักถึงความ

                       รับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่ถูกกำหนดอย่างมีประสิทริภาพ 2) Fair การสร้างความ

                       เป็นธรรม ทุกคนมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน 3) Share ต้องมีการแบ่งปันกันทุกเรื่อง
                       และสุดท้าย 4) Clear ทำทุกอย่างด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน และสอดคล้องกับ

                       ผลการวิจัยของ Magalhaes, Veiga, Amaral, Sousa and Ribeiro (2013) ที่ได้วิจัยถึงการปฏิรูป

                       หลักธรรมาภิบาล (Governance Reform) ในประเทศโปรตุเกส เพื่อกำหนดหลักธรรมาภิบาลใหม่
                       (New Governance) ซึ่งพบว่าหลักธรรมาภิบาลใหม่ หรือ New Governance นั้น แท้จริงแล้วมี

                       พื้นฐานมาจากหลักการสำคัญ 4 เรื่องได้แก่ การยึดตามหลักกฎหมาย หรือระเบียบการทำงานที่

                       เกี่ยวข้อง โดยมีเจตนาที่จะเปิดตนเองให้ภายนอกสามารถมองเห็นกระบวนการภายในได้อย่างชัดเจน
                       อันเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกๆ ส่วนในระบบนั้น ๆ


                       6. ข้อเสนอแนะ



                               6.1 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตัวชี้วัด และการพัฒนาตัวชี้วัด


                                 1) เนื่องจากการจัดทำตัวชี้วัดธรรมาภิบาลการบริหารจัดการในครั้งนี้ประกอบไปด้วยดัว

                       ชี้วัดทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ อีกทั้งเป็นการประเมินจากผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงานและเจ้าหน้าที่
                       ที่เกี่ยวข้อง  หากจะต้องมีการพัฒนาตัวชี้วัดในอนาคตควรพิจารณามุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ

                       ในการจัดบริการสาธารณะหรือในการบริหารประกอบเพิ่มเติม







                                                      โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)   512
   543   544   545   546   547   548   549   550   551   552   553