Page 549 - kpi21298
P. 549

2) ความยืดหยุ่นของเกณฑ์การให้ค่าคะแนนของตัวชี้วัด คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า
                       เกณฑ์การให้ค่าคะแนนของตัวชี้วัดในเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินองค์กรทั้ง 4 รูปแบบนั้น หน่วยงาน

                       ที่เกี่ยวข้องอาจทำการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การให้ค่าคะแนนของตัวชี้วัด ตลอดจนเกณฑ์การแปลผลค่า

                       คะแนนการประเมิน เช่น อาจทำให้อยู่ในรูปของแบบมาตราส่วนประมาณค่า แต่ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้
                       เสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวนี้ถึงการใช้รูปแบบของเกณฑ์การให้ค่าคะแนนของตัวชี้วัด

                       ตลอดจนเกณฑ์การแปลผลค่าคะแนนการประเมิน ที่มีลักษณะ/รูปแบบเดียวกันทั้งหมด เพื่อความ

                       สะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการเปรียบเทียบผลการประเมินขององค์กรประเภทเดียวกัน

                       และระหว่างองค์กรประเภทต่าง ๆ ได้
                                 3) การปรับปรุงดัชนีวัดในอนาคต ซึ่งโดยภาพรวมแล้วดัชนีตัวชี้วัดที่คณะผู้วิจัยได้จัดทำ

                       นี้สามารถใช้ได้เหมาะสมอยู่ โดยสามารถใช้ได้ทั้งระดับหน่วยงานกลุ่มงานและระดับภาพรวม
                       เนื่องจากคณะผู้วิจัยได้มีการนำไปยืนยันความเหมาะสมซึ่งสามารถสะท้อนภาพรวมของการบริหาร

                       จัดการที่ดีขององค์กรประเภทต่าง ๆ  ที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลทั้งองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน

                       (ธุรกิจ) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรไม่แสวงผลกำไรก็สามารถใช้ได้ ผู้ที่นำไปใช้ยังสามารถ
                       ปรับปรุงดัชนีวัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจหลักของประเภทหน่วยงานนั้น ๆ เพิ่มเติม



                               6.2 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้


                                 1) การนำเครื่องมือแบบสอบถามชุดต่าง ๆ ไปใช้ในการประเมินธรรมาภิบาลการบริหาร
                       จัดการขององค์กรประเภทต่างๆ ควรต้องทำการศึกษาและเข้าใจในความหมายของตัวชี้วัดและสาระ

                       ของแบบสอบถามก่อน นอกจากนี้กระบวนการประเมินควรมีบุคลากรภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญทำ

                       หน้าที่ในการประเมิน เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและลดความมีอคติในการประเมิน ในระยะต่อไปหาก
                       เครื่องมือที่ในประเมินดังกล่าวนั้นมีประโยชน์ต่อการพัฒนาระดับธรรมาภิบาล  องค์กรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

                       ก็สามารถที่จะนำเครื่องมือดังกล่าวนี้ไปใช้ในการประเมินตนเอง

                                 2) การจัดเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า การใช้ข้อมูล
                       จากแบบสอบถามเพื่อสะท้อนการบริหารจัดการที่ดีในภาพรวมแต่เพียงอย่างเดียวนั้นอาจทำให้เกิด

                       การเข้าใจผิดจากความเป็นจริงได้หากไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากจะ

                       ทำการวัดผลการบริหารจัดการที่ดีในภาพรวม คณะผู้วิจัยขอเสนอว่า การวัดการบริหารจัดการที่ดีที่มี
                       ประสิทธิผลควรเป็นการดำเนินการทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ กล่าวคือการสัมภาษณ์

                       ผู้เกี่ยวข้อง การจัดการประชุมกลุ่ม การสังเกตต่าง ๆ เพราะจะได้ข้อมูลที่ ครอบคลุม และยืนยันผล

                       การศึกษาเชิงปริมาณ และช่วยในการอภิปรายผลการศึกษาได้ดีอีกด้วย
                                 3) กลุ่มเป้าหมายในการประเมิน เนื่องจากการประเมินที่จะได้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ

                       ควรต้องทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องทำการสำรวจจากผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่ม

                       งานทุกกลุ่มและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังควรสำรวจจากหัวหน้าหรือ



                                                      โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)   513
   544   545   546   547   548   549   550   551   552   553   554