Page 546 - kpi21298
P. 546
แตกต่างกัน ทั้งนี้เป็นเพราะองค์กรจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงแนวทางต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์ของตนเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับภารกิจที่องค์การรับผิดชอ บ อยู่ เช่น
กระทรวงมหาดไทยจะมีองค์ประกอบของหลักการกำกับดูแล หลักความอดทนอดกลั้น เพราะมี
อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อย การอำนวยความเป็น
ธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง ในขณะที่สถาบันพระปกเกล้ามี
องค์ประกอบของหลักองค์การแห่งการเรียนรู้ หลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักการบริหาร
จัดการ เพราะเป็นองค์กรบริหารระดับสูงที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับงานด้านวิชาการเพื่อพัฒนา
ประชาธิปไตยของประเทศที่เป็นระบบ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าร่างองค์ประกอบและตัวชี้วัดในการ
ติดตามและประเมินผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรในประเทศไทยที่ได้ทำการยกร่าง
จากการวิจัยระยะที่ 1 ทั้ง 10 องค์ประกอบนั้น อาจมีความเหมาะสมและสอดคล้องในเชิงทฤษฎี แต่
ในการนำไปใช้ปฏิบัติจริงจำเป็นต้องการประยุกต์อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังพบว่า ตัวชี้วัดความคุ้มค่า (ตัวชี้วัดที่ 12 : องค์กรสามารถสร้าง
ผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นและผู้ประกอบธุรกิจได้ พร้อมตอบแทนประโยชน์เพื่อสังคมมากขึ้น) ขององค์กร
ภาคเอกชนในประเทศไทย (ธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) มีความแตกต่างจากทุก ๆ องค์กร
โดยเฉพาะองค์กรภาคเอกชนในประเทศไทย (ธุรกิจที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ทั้งนี้เป็น
ผลมาจากการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีการกำหนดถึงคุณสมบัติสำคัญของบริษัทในการ
ดำรงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเด็นของจรรยาบรรณทางธุรกิจซึ่ง
หมายถึง การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่
ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนเเก่สังคมมากขึ้น จึงส่งผลให้องค์กรภาคเอกชนในประเทศไทย (ธุรกิจที่จด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) มีตัวชี้วัดดังกล่าวแตกต่างจากองค์กรทั่วไป และแตกต่างจากองค์กร
ภาคเอกชนในประเทศไทย (ธุรกิจที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์)
5.2 จากผลการสร้าง Platform ตัวชี้วัดมาตรฐานของ Good Governance Mapping
(การวิจัยระยะที่ 4) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดหลักธรรมาภิบาลในการติดตาม
และประเมินผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรในประเทศไทย ประกอบด้วย
องค์ประกอบการวัดจำนวน 6 หลัก ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมี
ส่วนร่วม หลักสำนึกรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า เนื่องจากได้มีการนำหลักธรรมาภิบาลใน
องค์ประกอบหลักการเป็นองค์กรการเรียนรู้ องค์ประกอบหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
องค์ประกอบหลักการบริหารจัดการ และองค์ประกอบหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไป
รวมเข้าไว้ในองค์ประกอบหลักคุณธรรม องค์ประกอบหลักสำนึกรับผิดชอบ และองค์ประกอบหลัก
ความคุ้มค่า ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวนั้นพบว่าสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล
ของแนวคิดองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการของสำนักนายกรัฐมนตรี (2542) และพระ
ราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ตี พ.ศ. 2546
โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2) 510