Page 547 - kpi21298
P. 547
นอกจากนั้น จากที่คณะผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลใน
องค์การของประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2551-2561 (ส่วนใหญ่ระดับดุษฎีนิพนธ์) คณะผู้วิจัยได้
พบว่าจุดร่วมสำคัญ (Key points) ของวรรณกรรมเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลดังกล่าวประกอบด้วย
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลจำนวน 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม
3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า ตาม
แนวคิดหลักธรรมาภิบาล 6 ประการของสำนักนายกรัฐมนตรี (2542) ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นว่าแม้
ระเบียบฯ ดังกล่าว จะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่แนวคิดของการศึกษาองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลก็
ยังคงตั้งอยู่บนฐานแนวคิดตามหลัก 6 ประการของสำนักนายกรัฐมนตรี (2542) ซึ่งเป็นเพราะแนวคิด
องค์ประกอบหลักธรรมาภิบาล 6 ประการดังกล่าวนั้น เป็นแนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลที่
ตั้งอยู่บนฐานคติของหลักธรรมาภิบาลสากล เซ่น หลักธรรมาภิบาลของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่ง
เอเชีย (ADB, 1995) 5 หลักการ คือ หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส หลัก
ความสามารถคาดการณ์ได้ และความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบทั้ง 4 หรือจากหลักการของ
UNESCAP (2008) ที่มี 8 ประการ คือ การมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ
ความเห็นพ้องต้องกัน ความเป็นธรรมและความครอบคลุม ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และความ
พร้อมรับผิด
อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยได้มีข้อสังเกตว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดหลักธรรมาภิบาลไม่
ว่าจะเป็นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ตี พ.ศ.
2542 หรือพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ก็
ตาม ล้วนแต่เป็นหลักการที่รับมาจากธรรมาภิบาลสากล อันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ที่
ทำให้รัฐบาลไทยมีความจำเป็นต้องรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(International Monetary Fund: IMF, 1997) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian
Development Bank: ADB, 1995) ทำให้ผูกติดเงื่อนไขสำคัญในการที่จะต้องรับเอาแนวคิด
ธรรมาภิบาลดังกล่าวเข้ามากำหนดในการบริหารจัดการภาครัฐให้เป็นรูปธรรม แต่จากความซับซ้อน
และความหลากหลายในบริบทขององค์กร ทำให้การสร้างหลักธรรมาภิบาลตัวแบบเดียวแล้วนำไปใช้
กับทุกองค์กร (One-Size-Fits-AU) นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะแต่ละองค์กรล้วนมีความแตกต่างใน
ลักษณะของการปฏิบัติภารกิจ อีกทั้งแต่ละประเทศหรือองค์กรก็ล้วนแต่มีความแตกต่างในบริบทและ
ประวัติศาสตร์ชาติของตนเอง เช่น สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ดีในประเทศแถบเอเชีย แต่อาจจะไม่เหมาะกับ
ประเทศอื่นในแถบแอฟริกา (Grindle, 2010) ซึ่งจะเห็นได้จากการที่องค์กรในต่างประเทศอีกจำนวน
มากกลับมีการตีความธรรมาภิบาลในแบบของตนเอง ดังเช่น JICA ของประเทศญี่ป่นจะตีความ
ธรรมาภิบาลในเซิงประสิทธิภาพของรัฐในการบริหารและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
รวมทั้งแนวการพัฒนาที่ยั่งยืน การมีส่วนร่วมและความยุติธรรมทางสังคม ซึ่งเป็นการตีความที่แตกต่าง
จากแนวคิดธรรมาภิบาลของอเมริกาอย่างเห็นได้ชัด
โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2) 511