Page 538 - kpi21298
P. 538
บทที่ 8
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
โครงการวิจัยเรื่อง “การสร้าง Platform Good Governance Mapping ในการติดตาม
และประเมินผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรในประเทศไทย” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของ
การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษา Platform ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance Mapping ในการนำหลัก
ธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) และ
องค์กรไม่แสวงผลกำไร ในประเทศไทย และ 2) สร้างและจัดทำ Platform ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good
Governance Mapping ที่เป็นมาตรฐานในการติดตามความก้าวหน้าขององค์กรภาครัฐ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) และองค์กรไม่แสวงผลกำไร ตามหลักธรรมาภิบาลในประเทศไทย
สำหรับรองรับการสร้างฐานข้อมูลด้านธรรมาภิบาลที่เป็นมาตรฐาน และสามารถเชื่อมโยงกับระบบ
ฐานข้อมูล Good Governance Mapping ของสถาบันพระปกเกล้า
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยไว้ 4 ระยะ ได้แก่ การวิจัย
เชิงคุณภาพระยะที่ 1 เป็นการยกร่างตัวชี้วัดของ Good Governance Mapping Platform ในการ
ติดตามผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา
ตัวชี้วัดและจัดทำรายละเอียดคำอธิบายเกณฑ์ของ Good Governance Mapping Platform ในการ
ติดตามผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ และการวิจัยเชิงปริมาณระยะที่ 3 เป็นการวิจัยเพื่อยืนยัน
ตัวชี้วัดของ Good Governance Mapping Platform ในการติดตามและประเมินผลการนำหลัก
ธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ และการวิจัยเชิงปริมาณระยะที่ 4 เป็นการสร้าง Platform ตัวชี้วัดมาตรฐานของ
Good Governance Mapping ซึ่งจากผลการวิจัยนั้นสามารถนำไปสู่การสรุปผลการวิจัยที่ได้รับ และ
นำไปสู่การอภิปรายผลการวิจัย เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ตามลำดับหัวข้อดังนี้
1. สรุปผลการยกร่างองค์ประกอบและตัวชี้วัดหลักธรรมาภิบาล (การวิจัยระยะที่ 1)
2. สรุปผลการพัฒนาร่างตัวชี้วัด คำอธิบาย คุณภาพตัวชี้วัดหลักธรรมาภิบาล
(การวิจัยระยะที่ 2)
3. สรุปผลการยืนยันความเหมาะสมของตัวชี้วัดหลักธรรมาภิบาล (การวิจัยระยะที่ 3)
4. สรุปผลการสร้าง Platform ตัวชี้วัดมาตรฐานของ Good Governance Mapping
(การวิจัยระยะที่ 4)
5. อภิปรายผลการวิจัย
6. ข้อเสนอแนะ