Page 244 - 21211_fulltext
P. 244

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                     (ในขณะนั้น) ตลอดจนหน่วยงานรัฐอื่น ๆ จนกระทั่งมีการทําข้อตกลงระหว่างอธิบดี
                     กรมปาไม้ในขณะนั้น (นายไพโรจน์ สุวรรณกร) กับชุมชนฯ ว่าจะกันพื้นที่จํานวน
                     ประมาณ 700 ไร่ ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ 282 ไร่ข้างต้นและพื้นที่แนวชายหาดและอ่าว
                     ออกจากเขตอุทยานฯ ทําให้การเคลื่อนไหวคัดค้านยุติ


                           ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่เนื่องจากธุรกิจ
                     การท่องเที่ยว วิถีชีวิตเปลี่ยนจากเกษตรกรรมและประมง เป็นธุรกิจการท่องเที่ยว
                     เต็มรูปแบบจนกระทั่งปัจจุบัน ในปี 2533 ได้มีการจับกุมชาวชุมชนฯ โดยฝ่ายเจ้าหน้าที่

                     รัฐอ้างว่า มีการบุกรุกเขตอุทยาน ฯ การเปิดสถานที่พักนักท่องเที่ยวโดยไม่ได้รับอนุญาต
                     ในปี พ.ศ. 2544 ราชการแจ้งให้ชุมชนฯ ทราบว่า ที่ดินบนเกาะเสม็ดทั้งหมดเป็น
                     ราชพัสดุในความดูแลของกรมธนารักษ์ซึ่งมีอํานาจนําออกแสวงหาประโยชน์แก่รัฐได้

                     และได้แจ้งให้ผู้ครอบครองเข้าทําสัญญาเช่ากับกรมธนารักษ์  ซึ่งรวมถึงผู้ที่ครอบครอง
                     อยู่อาศัยในพื้นที่ 170 ไร่ข้างต้น  ประชาชนเกาะเสม็ดจํานวนไม่น้อยยินยอมที่จะเข้าทํา
                     สัญญาเช่า เพื่อประโยชน์ และความสะดวกในการได้รับอนุญาตปลูกสร้างอาคารและ

                     สิ่งปลูกสร้าง  การซ่อมแซมอาคาร การได้รับอนุมัติให้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งกําหนดเงื่อนไขให้
                     ผู้ต้องการใช้ไฟฟ้าต้องเป็นผู้เช่าที่ดินกับกรมธนารักษ์ และแนบสัญญาเช่าไปกับคําขอ
                     ใช้ไฟฟ้า และชาวชุมชนฯ จํานวนหนึ่งได้ฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนเงื่อนไข

                     การต้องทําสัญญาเช่ากับการขอใช้ไฟฟ้า  งศาลปกครองได้พิพากษาว่า การใช้ไฟฟ้าของ
                     บุคคลเป็นสิทธิโดยเสมอภาคในบริการสาธารณะของรัฐ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
                     จึงไม่อาจจะกําหนดเงื่อนไข และทําให้สมาชิกชุมชนฯสามารถเข้าถึงบริการไฟฟ้า

                     โดยไม่มีต้องยึดเงื่อนไขที่กรมธนารักษ์กำหนดไว้

                           การเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิในที่ดินที่ครอบครองทําประโยชน์ของ
                     ชาวชุมชนฯ ได้ดําเนินต่อมา โดยร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐผู้รับผิดชอบ องค์การอิสระ
                     เช่น สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                     แห่งชาติ คณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาที่ดินทํากิน กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและ
                     เร่งรัดการออกเอกสารสิทธิแก่ประชาชนของสภาผู้แทนราษฎรฯลฯ ซึ่งหน่วยงาน
                     ที่กล่าวถึงเหล่านี้ ได้มีข้อสรุปทํานองเดียวกันว่า สมาชิกชุมชนฯ ครอบครองที่ดินเหล่านี้

                     มาก่อนมีประมวลกฎหมายที่ดินทําให้มีกรรมสิทธิในที่ดินและพยานหลักฐานของทาง
                     ราชการที่นํามายืนยันการมีสิทธิหรืออํานาจเหนือที่ดินเกาะเสม็ด  ไม่อาจยืนยันได้ว่า





                                                                          สถาบันพระปกเกล้า   211
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249