Page 245 - 21211_fulltext
P. 245

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                 ที่ดินเกาะเสม็ดเป็นที่ราชพัสดุทั้งเกาะ โดยมีหนังสือรับรองยืนยันจากกระทรวง
                 มหาดไทยว่ามีชาวชุมชนฯ อยู่บนเกาะเสม็ดก่อนการประกาศเป็นเขตอุทยานฯ
                 ทั้งเกาะเสม็ดในฐานะเป็นหน่วยการปกครองหมู่ที่ 4 ตําบลบ้านเพได้มีกํานันผู้ใหญ่บ้าน
                 ปกครองดูแลมาตั้งแต่ก่อน พ .ศ. 2486 และมีหลักฐานยืนยันให้เห็นได้ว่าได้ว่า

                 มีการอยู่อาศัย ประกอบอาชีพและครองครองทําประโยชน์ในที่ดินตามใบเสร็จชําระ
                 ภาษีบํารุงท้องที่ ทะเบียนบ้าน ภาพถ่ายทางอากาศ มีการก่อตั้งโรงเรียนมายาวนาน

                 โดยในปี พ.ศ. 2513 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จมาเปิดและ
                 พระราชทานชื่อโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการสํารวจที่ดินที่ชาวชุมชนฯ
                 ครอบครองเพื่อทําบัญชีรายชื่อผู้ครอบครองที่ดินไว้ นอกจากนี้ เกาะเสม็ดยังเป็นพื้นที่
                 หนึ่งในโครงการสํารวจออก น .ส. 3 ก.ของจังหวัดระยองในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2519-

                 2521 อีกด้วย

                      ในปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลผลักดันให้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหาร
                 การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เสนอให้เกาะเสม็ดเป็นพื้นที่

                 การท่องเที่ยวพิเศษที่ต้องมีการลงทุนสูงโดยผู้ประกอบการที่มีทุนมากเพื่อสร้างโรงแรม
                 ที่พักรีสอร์ต ท่าเทียบเรือ และอื่น ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีกําลังซื้อสูงหรือ
                 ชาวต่างประเทศซึ่งเป็นแผนงานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง

                 ชุมชนเกาะเสม็ดเห็นว่านโยบายนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่ส่วนใหญ่ประกอบ
                 อาชีพด้วยทุนตํ่าตามศักยภาพ  จึงต่อต้านทำให้โครงการ อพท. ถูกระงับ





























             212 สถาบันพระปกเกล้า
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250