Page 247 - 21211_fulltext
P. 247
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
เกาะเสม็ดอยู่ในภายใต้อุทยานแห่งชาติเขาเเหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด (ภาพที่ 1)
ที่อยู่ในพื้นที่หมู่ 4 ตําบลเพ อําเภอเมือง จังหวัดระยอง (สำนักอุทยานแห่งชาติ, 2561)
ระยะห่างจากฝั่งคํานวณจากการเดินทางโดยเรือโดยสารปกติจากท่าเรือเพไปยัง
เกาะเสม็ดใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจํานวนครัวเรือนของเกาะเสม็ดในปัจจุบันมีอยู่
719 ครัวเรือน แต่ประชากรแฝงเข้ามาประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับธุรกิจการ
ท่องเที่ยวประมาณการว่าจำนวน 3,000 คน ประชากรเกาะเสม็ดเดิม (ก่อนปี
พ.ศ. 2520) ทําอาชีพเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทําไร่มันสําปะหลัง เผาถ่าน ประมงเรือ
เล็ก การทําธุรกิจที่พักนักท่องเที่ยวตามชายหาดค่อย ๆ ขยายตัว ตั้งแต่ช่วงหลังปี
พ.ศ. 2520 จนกระทั่งกลายเป็นอาชีพหลักของชาวชุมชนเกาะเสม็ด ในปัจจุบัน
ผู้ประกอบกิจการที่พักนักท่องเที่ยวรายใหญ่ในเกาะเสม็ดมีประมาณ 50 ราย
แต่ชาวชุมชนฯ ดั้งเดิมส่วนใหญ่จะทําธุรกิจขนาดเล็กเกี่ยวโยงกับการท่องเที่ยว เช่น
เป็นเจ้าของเรือ การขายอาหาร การให้เช่ารถจักรยานยนต์ การให้บริการรถแท็กซี่
เป็นต้น ในขณะที่อาชีพเกษตรกรรมโดยตรงไม่มีเหลืออยู่ ส่วนอาชีพประมงเรือเล็ก
คงเหลืออยู่ประมาณ 10 ลําเท่านั้น
การลงพื้นที่ของทีมวิจัย ธันวาคม 2560
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 คณะวิจัยได้ลงพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเพ
และเกาะเสม็ด เพื่อสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมต่อจากการลงพื้นที่ครั้งแรก (ภาพที่ 2) ได้พบ
ประชากรของเกาะเสม็ดจำนวนมาก โดยที่ ปลัด อบต.เพ นางประวิร์วัณณ์ จิตตรง
ได้กรุณาประสานกับสำนักงานอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า ซึ่งดูแลพื้นที่เกาะเสม็ด
และประชาชนในเกาะซึ่งเข้าใจว่าจัดประชุมกับ อบต. เป็นประจำเพื่ออธิบายการทำงาน
หรือสิทธิประโยชน์ แต่ครั้งนี้มีประเด็นที่ประชาชนต้องการคือชุมนุมเรียกร้อง
ให้ยกฐานะเกาะเสม็ดเป็นเทศบาล โดยไม่ต้องการควบรวมกับเทศบาลตำบลบ้านเพ
สรุปประเด็นที่ได้ดังนี้
21 สถาบันพระปกเกล้า