Page 242 - 21211_fulltext
P. 242
ภาคผนวก ข. กรณีศึกษาจังหวัดระยอง
กรณีศึกษา เกาะเสม็ด อบต. เพ
และ เทศบาลตำบลเพ จังหวัดระยอง
กรณีศึกษานี้มีลักษณะพิเศษ กล่าวคือข้อเสนอแยกตัว และแนวคิดการควบรวม
มาจาก 3 ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกล่าวคือ 1) ประชาชนในพื้นที่เกาะเสม็ด (ปัจจุบันเป็น
1 หมู่บ้านของ อบต. เพ) มีความต้องการแยกตัวของ อบต. เพ และต้องการบริหาร
จัดการตนเอง เป็น เทศบาลตำบลเสม็ด 2) หน่วยงานที่สองคือ อบต. เพ ซึ่งประกอบ
ด้วย 4 หมู่บ้าน (ซึ่งนับรวมหมู่ที่ 4 เกาะเสม็ดส่วนที่นอกเหนือจากการดูแลของอุทยาน
แห่งชาติ เขาแหลมหญ้า และ 3) หน่วยงานที่สามคือ เทศบาลตำบลเพ ซึ่งมีอาณาเขต
ติดต่อกับ อบต. เพ และมึความเป็นไปได้และมีเหตุผลสมควรที่ อบต. เพ อาจรวมกับ
เทศบาลตำบลเพ และปรับฐานะเป็น เทศบาลเมืองเพ
การวิเคราะห์ในส่วนนี้เริ่มจากอธิบายสภาพภูมิศาสตร์และประชากร ของ อบต.
เพ ต่อจากนั้นอธิบายชุมชนเกาะเสม็ด (หมู่ที่ 4) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่ง ของ อบต. เพ
เกาะเสม็ดเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งของจังหวัดระยองที่มีความสำคัญและเป็นที่รู้จักแพร่
หลาย พร้อมกับเหตุผลของการขอ “แยกตัว” ออกจาก อบต. เพ และข้อมูลของ
เทศบาลตำบลเพ ซึ่งมีความเป็นไปได้ในอนาคตที่จะควบรวม อบต.เพ และ เทศบาล
ตำบลเพเข้าด้วยกัน
องค์การบริหารส่วนตำบลเพ ภูมิประเทศและประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลเพ ตั้งอยู่บริเวณถนนสายชากไผ่ กลางดง หมู่ที่ 1
บ้านในไร่ ตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีระยะทางห่างจากที่ว่าการ
อำเภอเมืองระยอง ประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ 134.28 ตารางกิโลเมตร ประกอบ
ด้วย พื้นที่บก 13.28 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทะเลและเกาะ 121 ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากร 1,839 คน 904 ครัวเรือน (ตารางที่ 18) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
ทางด้านธุรกิจการท่องเที่ยว และเกษตรกรรม
สถานประกอบการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเพ ดังนี้
สถาบันพระปกเกล้า 20