Page 258 - kpi21193
P. 258
กรณีตัวอย่าง นวัตกรรม “การสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ปลดหนี้ให้ชาวนาพู่”
การสร้างนวัตกรรมเสริมสร้างรายได้ฯ ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่มีจุดเริ่มต้นจาก
การประเมินปัญหาภายในองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ พบว่า สภาพการดำรงชีวิตของคนใน
พื้นที่ยังคงมีปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาการอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพัง ปัญหาที่อยู่อาศัย ปัญหา
อยู่ในภาวะพึ่งพิงจำเป็นต้องได้รับการดูแล และ ปัญหารายได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ประชากร
บางส่วนยังคงเป็นหนี้ทั้งนอกระบบและในระบบ องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่จึงได้ยกประเด็น
ปัญหาในด้านความไม่มั่นคงของรายได้ของประชากรในเขตพื้นที่ตำบลนาพู่ขึ้นมาเป็นนโยบาย
เพื่อดำเนินการวางแผนแก้ไขปัญหา “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
วิธีการดำเนินการสร้างนวัตกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่เริ่มจากการวางแผนโดยขอ
ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านรายได้ไม่พอเพียง
ความจำเป็นของการพึ่งพาเครือข่ายต่าง ๆ เนื่องจาก องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ไม่สามารถ
ดำเนินการแก้ไขได้ด้วยตัวองค์กรเพียงองค์กรเดียว ดังนั้น จึงเกิดเป็นรูปแบบความร่วมมือของภาคี
เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันบริหารจัดการ
ปัญหาหรือต่อยอดโครงการหรือนวัตกรรมในด้านรายได้ โดยการใช้องค์ความรู้ตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องรายได้ของประชาชนในพื้นที่ โดยใช้วิธีการ
ถ่ายทอดความรู้และแนวทางในการพึ่งพาตนเองเพื่อให้มีความมั่นคงในด้านรายได้ต่อไปอย่างยั่งยืน
จนกระทั่งประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประชากรกลุ่มดังกล่าวจึงมารวมตัวกันเป็น
เครือข่ายภายใต้ชื่อกลุ่ม “ตามรอยพ่อ” เพื่อถ่ายทอดเทคนิคความรู้ภูมิปัญญาที่ตนเองมีให้แก่
สมาชิกเครือข่ายและคนในชุมชนที่ต้องการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคของตนเองที่ได้สะสมความรู้มา ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
สถาบันพระปกเกล้า 2