Page 234 - kpi21193
P. 234
กรณีตัวอย่าง
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว:
ตำบลสร้างสุข
ผศ. ดร.พจนา พิชิตปัจจา 37
“การเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขที่มี
ความท้าทายในการสร้างนวัตกรรม แต่การสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้น
ในชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นความท้าทายยิ่งกว่า”
“ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว”
บทนำ
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ มีพื้นที่ 48.53 ตารางกิโลเมตร
จำนวน 10 หมู่บ้าน ครัวเรือน 6,342 หลังคาเรือน ประชากร 15,234 คน
ติดกับศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้มีหน่วยงานราชการต่าง ๆ มากถึง
40 หน่วยงาน เป็นสาเหตุให้คนที่มาทำงานมาอาศัยอยู่ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
พื้นที่ทำการเกษตรลดลง ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่อยู่อาศัยแทน และค่อยๆ
กลืนเปลี่ยนเป็นชุมชนเมืองมากกว่าชุมชนชนบท มีช่องว่างระหว่างอาชีพ
และรายได้ มีการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนแปลงของกลุ่มประชากรอยู่ตลอด
เวลา จึงเป็นความยากและท้าทายต่อการบริหารจัดการตำบลที่จะจัดบริการ
สาธารณะให้ทั่วถึง เท่าเทียมและเหมาะสมกับบริบทกึ่งเมืองกึ่งชนบท
37 อาจารย์สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสน-
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถาบันพระปกเกล้า 22