Page 238 - kpi21193
P. 238

ค่านิยม ทัศนคติ และสร้างเครือข่าย ไม่ว่าเครือข่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่าย
                      เฉพาะประเด็น เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายธรรมาภิบาล และเครือข่ายภายใน

                      ชุมชน โดยกลไกดังกล่าวจะทำให้เกิดคนขับเคลื่อนในพื้นที่ใน 3 ระดับคือผู้ทำ ผู้นำและผู้สร้าง
                      การเปลี่ยนแปลง อันนำไปสู่กระบวนการในการขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะไม่ว่าจะเป็นส่วนของ
                      ผู้เกี่ยวข้องและส่วนที่เกี่ยวข้องสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว โรง

                      พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นำในชุมชน อาสาในแต่ละหมู่บ้าน วัฒนธรรมการทำงานแบบ
                      ดอนแก้ว (Donkawe DNA) ตัวขับเคลื่อนส่วนที่สองคือกระบวนการดำเนินงานในพื้นที่ องค์การ

                      บริหารส่วนตำบลดอนแก้วได้มีการจัดกลุ่มประชาชนในพื้นที่ออกเป็น 13 กลุ่มช่วงอายุ ได้แก่      “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      หญิงตั้งครรภ์ กลุ่มอายุ 0-3 ปี กลุ่มอายุ 3-5 ปี กลุ่มอายุ 6-12 ปี วัยทำงาน เยาวชน ผู้ป่วยจิตเวช
                      ผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งผ่าน

                      การดำเนินงานใน 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพ การพัฒนาสภาพแวดล้อม
                      การพัฒนาระบบบริการ การจัดตั้งกองทุนหรือจัดให้สวัสดิการช่วยเหลือกัน การพัฒนานำใช้ข้อมูล

                      ในการส่งเสริมแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่น และการพัฒนา กฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติเพื่อหนุนเสริม
                      การดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่น โดยอาศัยระบบจัดการพื้นที่ผ่านกลไก
                      5 นัก ได้แก่ นักบริหาร ทำให้หน้าที่ในการกำหนดทิศทาง วางแผน บริหารจัดการและกำกับดูแล

                      นักจัดการ จัดการงาน งบประมาณ ประสานงาน จัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ จัดทำรายงาน
                      การเงิน นักวิชาการ/นักจัดการข้อมูล จัดทำระบบข้อมูล สรุป/ถอดบทเรียน พัฒนาเครื่องมือ

                      ชุดความรู้และรายงานสรุป นักจัดกระบวนการ จัดกระบวนการทำงานในพื้นที่ จัดกิจกรรม
                      สร้างความสัมพันธ์ นักสื่อสาร ผลิตสื่อและการสื่อสารกับคนในสังคมชุมชนและตระกูลอาสา
                      ซึ่งเป็นระบบของการทำงานร่วมกันระหว่างคนในพื้นที่ (ผู้ทำ ผู้นำ ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง)

                      ทำให้เกิดการทำงานระดับหมู่บ้านในทุกชุมชนเป้าหมายพร้อมกัน โดยไม่จำเป็นต้องรอการเข้าไป
                      ดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วอีกต่อไป


                            ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนกระบวนการหนุนนำสุดท้าย     ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
                      จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ นั่นคือการขยายและพัฒนาเครือข่ายทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่เพื่อทำให้

                      เกิดการร่วมกันพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการปรับปรุงระบบการทำงานที่สำคัญทั้ง 7 ระบบ
                      และทุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพชุมชนอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับบริบทของตำบลดอนแก้ว
                      มากขึ้น ดังแสดงในตารางที่ 2  โดยที่


                              u สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมจัตุรัส คือ แหล่งปฏิบัติการ/แหล่งเรียนรู้ที่มีการรวมกลุ่มทำงาน
                                  ไม่มีรูปธรรม การดำเนินงานด้านระบบการดูแลสุขภาพชุมชน และยังไม่มีการ

                                  เชื่อมโยงการทำงานกับแหล่งปฏิบัติการ/แหล่งเรียนรู้ที่มีรูปธรรมการดำเนินงานของ
                                  องค์ประกอบการบูรณาการระบบการดูแลสุขภาพครบวงจรโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง



                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   22
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243