Page 235 - kpi21193
P. 235

จากสภาพดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดปัญหาบริการสาธารณะไม่ทั่วถึง ยังพบว่ามีข้อจำกัดด้าน
                  ศักยภาพของคน และระบบการจัดการที่ไม่เอื้อต่อการจัดบริการให้ทั่วถึงและครบทุกด้าน
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  จัดบริการเฉพาะบางกลุ่มประชากร บางเรื่อง หรือไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ ทำให้ปัญหาต่างๆ ยังไม่ได้รับ
                  การแก้ไขให้หมดไป (องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว, 2561) โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา
                  ด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นบริการสาธารณะพื้นฐานที่มีความจำเป็นกับคนทุกช่วงวัยที่อาศัยในพื้นที่

                  องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว

                        ปัญหาการจัดการขยะถือว่าเป็นปัญหาที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วต้องเผชิญ

                  ในปี 2538 คือ เมื่อมีการยกฐานะสภาตำบลดอนแก้วเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล
                  ดอนแก้ว ในช่วงแรก ประสบปัญหาขยะ กำจัดขยะไม่ถูกวิธี ไม่มีการคัดแยกขยะ การจัดการขยะ

                  เป็นหน้าที่ของทางองค์การบริหารส่วนตำบลที่ต้องดำเนินการจัดเก็บ ซึ่งการดำเนินการจัดการขยะ
                  ในช่วงเวลานั้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วได้จ้างบริษัทเอกชนมาเป็นผู้จัดเก็บ แต่ก็ยัง
                  ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึงเพราะปริมาณขยะที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้

                  ภาระค่าใช้จ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วมีจำนวนสูงขึ้น ประกอบกับที่ทิ้งขยะของ
                  จังหวัดเชียงใหม่เริ่มถึงขีดจำกัดในการรองรับปริมาณขยะของจังหวัดเชียงใหม่ ดังนั้นทางองค์การ

                  บริหารส่วนตำบลดอนแก้วจึงจำเป็นต้องหาทางออก โดยการปรับเปลี่ยนทัศนคติหลักวิธีก่อเกิด
                  มลพิษจากขยะในชุมชน จึงเกิดการรวมกลุ่มร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว สร้างเวที
                  การมีส่วนร่วมในชุมชนได้ แนวทางการคัดแยกขยะโดยชุมชน เริ่มนำร่องหมู่ที่ 7 บ้านสันเหมือง

                  จนจัดตั้งเป็นกองทุนขยะในหมู่บ้าน และได้รับรางวัลชุมชนถังขยะทองคำในปี 2544

                        แต่ถึงอย่างไรก็ตามสภาพของความเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบททำให้คนในชุมชนยังคง

                  ประกอบอาชีพเลี้ยงสุกรและในหมู่บ้านเดียวกันคนบางกลุ่มประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   มาจากฟาร์มเลี้ยงสุกร องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว จึงได้จัด เวที “ข่วงกำกึ๊ด” เพื่อแก้ไข
                  ในปี 2544 บ้านสบสา-หนองฟาน หมู่ที่ 9 ประสบปัญหากลิ่นเหม็น และแมลงวันที่มีสาเหตุ



                  ปัญหาร่วมกับชุมชน และผู้ประกอบการ จึงเกิดการจัดทำบ่อแก๊ส ชีวภาพจากมูลสุกรแจกจ่ายแก่
                  ชาวบ้าน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วได้รับรางวัลพระปกเกล้า

                  ในปี 2545 และรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล
                  ในปี 2546 โดยการแก้ไขทั้งปัญหาหลักจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการเสนอ

                  ทางออกร่วมกัน การลงมือทำร่วมกัน การประเมินผลร่วมกัน

                        ภายหลังจากปี 2546 องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วยังคงมีการพัฒนานวัตกรรม
                  เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งในปี 2552 ผู้บริหารตำบลดอนแก้ว

                  ได้ตระหนักถึงการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาอันจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเชิงรุกและ




                22    สถาบันพระปกเกล้า
   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240