Page 236 - kpi21193
P. 236
พัฒนาพื้นที่อย่างเป็นระบบบนกระแสการขับเคลื่อนชุมชนสู่ตำบลสุขภาวะ โดยการเข้าร่วมเป็น
เครือข่ายสุขภาวะกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งในการเข้าร่วม
เครือข่ายดังกล่าวทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วได้มีการทบทวนทุนและศักยภาพภายใน
ตำบลดอนแก้ว ผ่านระบบการจัดทำฐานข้อมูลระดับครัวเรือน (TCNAP) และการวิจัยเชิงชาติพันธุ์
วรรณาอย่างเร่งด่วน (RECAP) ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวทำให้องค์การบริหารส่วนตำบล
ดอนแก้วค้นพบทุนและระบบการบริหารจัดการของตำบล 7 ระบบและ 21 แหล่งเรียนรู้ กระจาย
อยู่ในทุกหมู่บ้านอย่างน้อย 2 ระบบดังปรากฏในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ระบบจัดการสุขภาวะชุมชนของหมู่บ้าน “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
ระบบ ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 ม.7 ม.8 ม.9 ม.10
ระบบบริหารจัดการตำบล √ √ √ √ √ √ √ √ √ √
ระบบเศรษฐกิจชุมชน √ √ √
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม √ √ √ √ √ √ √ √ √ √
และพลังงานทดแทน
ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ √ √
เพื่อเด็กและเยาวชน
ระบบอาสาสมัครและจิตอาสา √ √ √ √ √ √ √ √ √ √
เพื่อพัฒนาสุขภาวะ
ระบบสวัสดิการเพื่อสุขภาวะ √ √
ชุมชน
ระบบภูมิปัญญาท้องถิ่น √ √
ที่มา: องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว, 2550
นวัตกรรม “ตำบลสร้างสุข” ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
ภายหลังจากการค้นพบทุนและศักยภาพดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว
ได้ทำการถอดบทเรียนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว
เป็น “ดอนแก้ว ตำบลสุขภาวะ” โดยสร้างระบบการขับเคลื่อนการพัฒนาขึ้นมาทั้งหมด 7 ระบบ
ได้แก่ (1) ระบบสวัสดิการเพื่อสุขภาวะชุมชน อยู่บนฐานของระบบภูมิปัญญาในท้องถิ่นและ
การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เพื่อทำให้ประชาชนได้รับการดูแลตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต
(2) ระบบจัดการตำบล เป็นระบบที่เน้นการทำงานบนหลักของธรรมาภิบาล ได้แก่ หลักนิติธรรม
หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า และ
สถาบันพระปกเกล้า 22