Page 237 - kpi21193
P. 237
เพิ่มเติมหลักความคิดสร้างสรรค์ และทำงานภายใต้สองสมดุลคือ สมดุลระหว่างภาวะผู้นำกับ
ภาวะผู้ตาม (คนในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วและคนในชุมชน) (3) ระบบเศรษฐกิจชุมชน
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
เน้นการรวมตัวของชุมชนเพื่อช่วยกันคิดและทำ และได้รับการหนุนเสริมจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ไม่ว่าจะเป็นท้องที่ ท้องถิ่น และชุมชนเอง โดยเน้นการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ พึ่งพาตนเองและ
อยู่อย่างพอเพียง (4) ระบบอาสาสมัครและจิตอาสาเพื่อพัฒนาสุขภาวะ เน้นการสร้างค่านิยม
จิตอาสาและช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยเน้นการไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ปลูกฝังให้เกิดจิตอาสาในทุกช่วงวัยเริ่มตั้งแต่การค้นหาจิตอาสาและผู้ที่ต้องการได้รับการดูแล
การพัฒนาศักยภาพทั้งจิตอาสาและผู้ที่ต้องรับการดูแล และร่วมดูแลคนในชุมชนร่วมกับหน่วยงาน
ภายนอก เช่น โรงพยาบาลนครพิงค์ (5) ระบบภูมิปัญญา เป็นระบบที่มีการเปิดพื้นที่สาธารณะ
ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ไม่ยึดติดกับสถานที่ด้านกายภาพ โดยทาง
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วเรียกสถานที่นี้ว่าข่วงกำกึ๊ด ซึ่งก็คือ ผญาล้านนา ในระบบ
ภูมิปัญญาล้านนาเดิม มีการจุดประเด็นการพัฒนาหรือแก้ปัญหาในพื้นที่ เรียนรู้จากปราชญ์หรือ
วิธีการดั้งเดิม พัฒนาสู่แนวทางที่เหมาะสม โดยได้รับการหนุนเสริมจากองค์การบริหารส่วนตำบล
ดอนแก้ว (6) ระบบการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชน เป็นระบบที่เน้นกลุ่มเป้าหมาย
ที่เป็นเด็กและเยาวชนเนื่องจากตำบลดอนแก้วเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเด็กในมีการเรียนรู้
อยู่ในพื้นที่ที่มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน พัฒนาเด็กให้มีคุณธรรมจริยธรรม
โดยให้มีการใช้พื้นที่สาธารณะในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปราชญ์ท้องถิ่น และ (7) ระบบ
การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน ระบบนี้ถือได้ว่าเป็นระบบที่องค์การบริหารส่วนตำบล
เน้นย้ำอยู่เสมอและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการขยะจากการคัดแยก
ขยะ การลดปริมาณขยะ และการเก็บค่าธรรมเนียมแบบบุปเฟ่ต์เพื่อให้สามารถจัดการขยะในพื้นที่
ได้ 100% ซึ่งระบบนี้เน้นที่การสร้างการมีส่วนร่วมและปลูกฝังค่านิยมในการรักษาพื้นที่ทั้งในบ้าน
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา ได้แก่ หลักแรก คือหลักของการบริหารธรรมาภิบาลที่เน้นการทำงานที่มีความโปร่งใส ซื่อสัตย์
ตนเองและของชุมชนหมู่บ้าน เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
สำหรับการขับเคลื่อนทั้ง 7 ระบบองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วมีฐานหลัก 3 ส่วนหลัก
สุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนผ่านเวทีสาธารณะต่างๆ หรือเวที
ข่วงกำกึ๊ด นำไปสู่หลักที่สอง การที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วได้มีการรวบรวมข้อมูล
ในระดับหมู่บ้านจากการทำวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณาแบบเร่งด่วน ทำให้ในการขับเคลื่อนบน
แนวทางการดำเนินงานสู่ตำบลสุขภาวะจึงเน้นการทำงานบน หลักที่สาม คือการทำงานบน
ฐานข้อมูลชุมชน ทั้งสามหลักข้างต้นเป็นหลักพื้นฐานในการขับเคลื่อนผ่านกลไกสำคัญคือ ค้นหา
กลุ่มทุนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น บุคคล กลุ่ม องค์กรชุมชน แหล่งผลประโยชน์ ทุนหมู่บ้าน ทุนตำบล
และทุนเครือข่าย เพื่อพัฒนา ศักยภาพ สมรรถนะ ประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ
22 สถาบันพระปกเกล้า