Page 324 - kpi21190
P. 324
324
จากกรอบคำนิยามและการทำความเข้าใจมิติต่างๆ ข้างต้น นำมาสู่การอธิบาย
รัฐธรรมนูญในทางทฤษฎีที่เป็นตัวกำหนดใน 3 เรื่องคือ เป็นตัวกำหนดว่าการเมืองจะเป็น
อย่างไร เป็นตัวกำหนดว่าสังคมจะเป็นอย่างไร และเป็นตัวกำหนดว่าระบบกฎหมายจะเป็น
อย่างไร ซึ่งในทางการเมืองนั้นเชื่อกันว่า หากรัฐธรรมนูญถูกร่างมาอย่างดีและเป็นที่ยอมรับของ
ทุกกลุ่มในสังคมก็จะทำให้กระบวนการต่างๆ ทางการเมืองเกิดความชอบธรรม การบังคับใช้
กฎหมายก็จะมีความถูกต้อง และกระบวนการต่าง ๆ ก็จะสร้างความเป็นธรรมในสังคม
หากย้อนกลับมาดูรายละเอียดรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่มีความพยายามจัดระเบียบ
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจใหม่ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายองค์กรอิสระต่างๆ
1. ฝ่ายบริหาร เริ่มจากการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับฝ่ายบริหารในหลายกรณี เช่น
- รัฐธรรมนูญระบุว่า พรรคการเมืองสามารถเปิดเผยรายชื่อบุคคลที่สมควรดำรง
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้ทราบล่วงหน้าได้ 3 รายชื่อ เพื่อเป็นการเพิ่ม
ประสิทธิภาพให้ฝ่ายบริหารทำให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อโดยพรรคการเมืองมีความ
รับผิดชอบโดยตรงกับผู้เลือกตั้ง
- รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อย่างชัดเจนให้รัฐบาลบริหารตามหลักนิติธรรมและ
ยึดหลักความรับผิดชอบร่วมกันกับองค์กรอื่นๆ
2. ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติหลาย
กรณี เช่น
- การอภิปรายทั่วไปแบบไม่มีการลงมติ ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของฝ่ายนิติบัญญัติ
- ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 สามารถเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปราย
ทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะคณะรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องลงมติ
- ผู้นำฝ่ายค้านสามารถขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ต้องลงมติ เพื่อให้เสียงข้างน้อย
สามารถเสนอแนะรัฐบาลได้ อันจะนำมาสู่การลดความตึงเครียดทางการเมือง
3. ฝ่ายองค์กรอิสระต่าง ๆ รัฐธรรมนูญได้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการตรวจสอบ
- การให้อำนาจและบทบาทแก่ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระในการตรวจสอบการ
เข้าสู่อำนาจและการใช้อำนาจ
- การถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ตุลาการ และองค์กรอิสระ โดยได้
สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย
กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระมีหน้าที่ร่วมกัน
กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งมาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวนี้จะนำไปสู่
การสร้างบรรทัดฐานและเป็นมาตรฐานให้กับ ส.ส. ส.ว. และคณะรัฐมนตรี
นอกจากความพยายามในจัดระเบียบความสัมพันธ์เชิงอำนาจของรัฐธรรมนูญฉบับ
ปัจจุบันนี้แล้ว รัฐธรรมนูญยังมีการออกแบบโครงสร้างการแบ่งปันผลประโยชน์ใหม่
เพื่อป้องกันไม่ให้นักการเมืองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์มากเกินไป โดยการจัดระบบ
ความสามารถในการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่า การแก้ไขปัญหา
ทั้งระบบนี้ได้จะนำมาสู่การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม