Page 320 - kpi21190
P. 320
320
เป็นผู้ออกกฎหมาย แต่ไม่ได้เริ่มจากระดับล่างหรือจากเสียงของประชาชน
โดยแท้จริง นอกจากนี้ยังสังเกตได้ว่า กลุ่มคนที่เสนอให้มีการออกกฎหมายก็มักจะเป็นไปเพื่อ
ผลประโยชน์ของคนกลุ่มนั้นเป็นหลัก ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมอย่างแท้จริง ดังนั้น
หากต้องการให้มีกฎหมายที่เสมอภาคและเป็นธรรมก็ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของ
อำนาจอธิปไตยเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายมากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่สอง การบังคับใช้กฎหมายที่เท่าเทียมกันโดยคำนึงถึงสิทธิและความเสมอภาค
ของประชาชน ในประเด็นนี้หากมองจากความเชื่อสำนักกฎหมายบ้านเมืองก็มักจะเชื่อกันว่า
กฎหมายคือคำสั่งของรัฎฐาธิปัตย์ ผู้ใดไม่ทำตามก็ต้องได้รับโทษ ความเชื่อตามสำนักกฎหมายนี้
ก็จะใช้แนวทางในการบังคับใช้กฎหมายต่อไปโดยไม่ได้คำนึงว่ากฎหมายนั้นสอดคล้องกับ
หลักนิติธรรมหรือไม่ ขณะที่อีกสำนักหนึ่งคือ สำนักกฎหมายธรรมชาติก็มักจะเชื่อเรื่อง
การบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม แม้ว่ากฎหมายนั้นจะมีการตีความอย่างกว้างขวางแต่
สุดท้ายแล้วต้องยึดหลักความเป็นธรรม หลักสิทธิมนุษยชนและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ในมุมมองอาชญวิทยานั้น มองว่าการบังคับใช้กฎหมายหรือการปฏิบัติต่อสิ่งที่
แตกต่างกันด้วยวิธีการที่เหมือนกันย่อมทำให้เกิดความไม่เสมอภาค ดังนั้นในสังคมหนึ่งอาจจะ
มีกฎเกณฑ์หลายกฎเกณฑ์ที่สลับซับซ้อนเพื่อใช้ในการบังคับทางกฎหมาย หากแต่จำเป็นต้อง
เข้าใจความแตกต่างและสภาพความผิด ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายยุติธรรมทางเลือก
ที่เหมาะสม เพื่อให้การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ดียิ่งขึ้น
ประเด็นที่สาม การพัฒนากระบวนการยุติธรรมเพื่อสร้างโอกาสและความเท่าเทียม
ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ในประเด็นนี้ได้มีการยกตัวย่างกรณีศึกษากระบวณการ
ยุติธรรมในประเทศไทยขึ้นมา 3 ประเด็นย่อย คือ
- คำกล่าวที่ว่า คุกมีไว้ขังคนจน เป็นคำพูดที่มักได้ยินกันบ่อยครั้ง ตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 29 เป็นหลักที่มีการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ หากไม่ได้มี
การพิพากษาให้ถึงที่สุดว่าบุคคลใดกระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมอ
ผู้กระทำผิดไม่ได้ หากแต่ปัญหาในกรณีดังกล่าวนี้เกิดขึ้น เมื่อมีการจับผู้ต้องหาได้
จากนั้นก็จะมีการกักขังไว้ก่อน ในช่วงที่มีการดำเนินคดี หากบุคคลใดมีเงินประกัน
สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย
ตัวก็สามารถออกไปได้ไม่ถูกกักขัง แต่หากไม่มีเงินประกันตัวก็จะต้องถูกกักขัง
ไว้ก่อน ซึ่งในประเด็นนี้บุคคลนั้นก็จะถูกกักขังเสมอเหมือนนักโทษทั้งที่สภาพจริง
ยังเป็นผู้ต้องหาและยังไม่มีคำพิพากษาให้เป็นผู้กระทำความผิด
- การบันทึกประวัติอาชญากร หากบุคคลถูกจับกุมตั้งข้อหาก็จะมีการพิมพ์ลายนิ้วมือ
และชื่อ จากนั้นก็จะถูกบันทึกเป็นประวัติอาชญากรรม ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว
ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาให้มีความผิด หากแต่สภาพของบุคคลนั้นคือผู้ต้องหา
เวลาต่อมาแม้จะมีการสั่งไม่ฟ้องหรือศาลสั่งยกฟ้องแล้วก็ตาม ชื่อของบุคคลนั้น