Page 321 - kpi21190
P. 321

321



                           ก็จะยังคงอยู่ในประวัติอาชญากรรม สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบไปยัง

                           ความเหลื่อมล้ำด้านอื่น ๆ เช่น การสมัครงาน

                          - การกักขังแทนค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา หากต้องโทษปรับแล้วไม่มี
                           เงินจ่ายค่าปรับก็ต้องถูกกักขังแทนค่าปรับในอัตรา 500 บาทต่อวัน และถ้าไม่มี
                           เงินจ่ายค่าปรับก็สามารถยื่นคำร้องขอทำงานแทนได้ ซึ่งประเด็นนี้ ผู้กระทำความผิด

                           หลายคนไม่ทราบประเด็นดังกล่าวนี้ เพราะไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ผู้กระทำ
                           ผิดหลายคนก็ยังถูกกักขังต่อไปแทนการจ่ายค่าปรับ เพราะไม่ทราบว่าตนเองมีสิทธิ์
                           ในการยื่นคำร้องได้

                       ประเด็นย่อยทั้งหมดนี้เป็นกรณีศึกษาที่ยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นกระบวนการยุติธรรม

                  ในประเทศไทยที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นได้

                       ประเด็นสุดท้าย ข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อความเป็นธรรม มีดังนี้

                          - การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการออกกฎหมาย และการบังคับใช้

                           กฎหมายต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนให้มากขึ้น

                          - การเสนอให้ทบทวนแก้ไขประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญา เพื่อให้สอดคล้อง
                           กับหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์

                          - การเสนอให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์เป็นองค์กรอิสระ และแยกตัวออกจากสำนักงาน

                           ตำรวจแห่งชาติ

                          - การเสนอให้อัยการทำหน้าที่เป็นอัยการของแผ่นดิน โดยการกำกับการสอบสวนคดี
                           อาญาทั้งหมด


                          - การเปิดประวัติผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาต่อสาธารณะก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่ง
                           เพื่อให้เกิดการตรวจสอบโดยประชาชนอย่างกว้างขวาง

                          - การเสนอให้ใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้ในอาชญากรรมบางประเภท เช่น
                           การรุกที่ป่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นต้น


                       ประเด็นสำคัญที่ได้มีการชวนพูดคุยและกล่าวถึงในกลุ่มย่อยที่ 1 หัวข้อการเสริมสร้าง
                  ความเสมอภาคด้วยระบบกฎหมายนี้ สามารถสรุปได้ว่า ความขัดแย้งที่ผ่านมาเป็นอุปสรรค
                  ในการพัฒนาประชาธิปไตย เนื่องจากความเหลื่อมล้ำและการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

                  ดังนั้นหากรัฐสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ได้โดยการทำให้กฎหมายมีความเป็นธรรมกับทุกคน         สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย
                  และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม ก็จะช่วยลดความขัดแย้งทางสังคมและเสริมสร้าง
                  ความเข้มแข็งในการพัฒนาประชาธิปไตยได้
   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326