Page 328 - kpi21190
P. 328
328
ระหว่างคนรวยกับคนจนก็มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก อีกทั้งการคุ้มครองทางสังคมก็มี
ปัญหาช่องว่างความแตกต่างกันในเรื่องระบบประกันสังคมระหว่างแรงงานในระบบและแรงงาน
นอกระบบ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างอาการความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในประเทศไทย คำถาม
ต่อไปคือ แล้วสาเหตุใดที่ทำให้เกิดอาการความเหลื่อมล้ำเหล่านี้?
1. อาการความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยส่วนหนึ่งเกิดจากการครอบครองฐานทรัพยากร
และการสะสมทุนจำนวนมหาศาลที่ตกอยู่กับกลุ่มคนที่มั่งคั่งเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น
ขณะที่คนส่วนใหญ่ของทั้งประเทศเข้าถึงทรัพยากรเพียงเล็กน้อย หรือขาดโอกาส
ในการเข้าถึงทรัพยากร
2. การพัฒนาเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจได้สร้าง
การกระจุกตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น อีกทั้งการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจหลายครั้ง
ไม่ได้เป็นนโยบายที่สร้างความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำให้น้อยลง
3. การพัฒนาประชาธิปไตยที่ผ่านมานั้นไม่ได้มีคามต่อเนื่อง ทำให้นโยบายสาธารณะ
หลายนโยบายไม่ได้ถูกนำไปแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
เมื่อเกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นรัฐบาลก็พยายามหาทางออกของความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเห็นได้
จากนโยบายการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาที่รัฐเชื่อว่าการใช้นโยบายกระจายทรัพยากรจากบน
ลงล่าง (trickle down) จากบนลงล่างจะทำให้เกิดการกระจายความเจริญอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่
หากแต่แท้จริงแล้วเป็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำแบบผิดทาง สุดท้ายทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
ขึ้นมาอย่างมากมาย และประชาชนเองก็ต้องหันกลับมาพึ่งพารัฐ
แนวทางหนึ่งที่ได้มีการสรุปจากประเด็นการพูดคุยกันนั้นคือ การสร้างความเข้มแข็งจาก
ฐานราก โดยการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การใช้ศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาล
ที่ 9 มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งหากเราสามารถสร้าง
ความเข้มแข็งจากฐานรากขึ้นมาได้ ประชาชนก็จะมีอำนาจต่อรองทางนโยบายกับรัฐมากขึ้น
เพื่อให้รัฐออกนโยบายที่ตอบสนองกับประชาชนในพื้นที่และกลุ่มต่างๆ สุดท้ายประชาชนก็จะมี
อำนาจในการตัดสินอนาคตของตนเองได้
สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย