Page 331 - kpi21190
P. 331
331
- การสร้างระบบสวัสดิการให้กับประชาชนเพื่อการดำรงชีวิต โดยไม่ควรใช้
นโยบายประชานิยม มุ่งเน้นการแจกเงิน แต่ควรเป็นรูปแบบรัฐสวัสดิการ
- การส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
- ความรับผิดชอบของรัฐที่ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบได้
2. ประเด็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ได้มีการกล่าวถึงปฏิญญาจอมเทียนและ
ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยมี
เป้าหมายที่ทุกภาคส่วนจะต้องดำเนินการให้เกิดผลในปี 2030 สาระสำคัญของการมุ่งแก้ไข
ปัญหาด้านการศึกษาดังกล่าวนี้ เนื่องมาจากผลสำรวจที่พบว่า มีเด็กอายุ 3-17 ปีจำนวน
มากกว่า 3 ล้านคนที่อยู่นอกระบบการศึกษา อีกทั้งยังเป็นกลุ่มเด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
และขาดโอกาสทางการศึกษา ทำให้เด็กเหล่านี้ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่
การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งทุกภาคส่วนเห็นตรงกันว่าควรมีมาตรการหรือ
แนวทางที่จะทำให้เด็กทุกคนเข้าถึงระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างเสมอภาคกัน ซึ่งแนวทางหนึ่ง
ในนั้นคือการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีบทบาทและทรัพยากรมากขึ้น
ในการพัฒนาระบบการศึกษา
3. ประเด็นความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาพ ในสังคมทุกวันนี้ยังไม่มีที่ทางสำหรับเพศทาง
เลือกมากนัก เช่น ห้องน้ำยังมีห้องน้ำชาย-หญิง แต่ไม่ได้มีที่สำหรับเพศทางเลือก หรือ
การเข้าไปติดต่อในหน่วยงานรัฐบางแห่งก็ยังคงให้ยึดข้อมูลตามสภาพจริง ไม่ได้มีทางเลือก
มากนักสำหรับบุคคลข้ามเพศ เป็นต้น ประเด็นเรื่องเพศสภาพได้มีการเสนอได้อย่าง
หลากหลายมาก หากแต่ประเด็นสำคัญที่ได้มีการพูดถึงกันมากในเวทีประชุมกลุ่มย่อยนี้คือ
การใช้อำนาจทางวัฒนธรรมเป็นกลไกในการควบคุมจารีตประเพณีของบุคคล รวมไปถึง
การควบคุมสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาและอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อตัวบุคคล
ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ เกิดความไม่เสมอภาค และความเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม ด้วยเหตุนี้
จึงนำมาสู่ข้อเสนอแนะ ดังนี้
- นโยบายสาธารณะของรัฐที่ผ่านมายังขาดความละเอียดอ่อนต่อความหลากหลาย
ทางเพศ ผู้เสนอนโยบายทางสังคมยังขาดความรู้ความเข้าใจในตัวตนและ
วิถีชีวิตของเพศที่หลากหลาย จนนำไปสู่การยึดติดกรอบแห่งเพศกระแสหลัก
ชาย-หญิงที่ถูกถ่ายทอดไปในระดับครอบครัว ระดับชุมชน และระดับสังคม
ดังนั้นรัฐจึงควรเปิดกว้างทางนโยบายมากขึ้นเพื่อให้เกิดความหลากหลายทางสังคม
- แม้รัฐจะมี พรบ.ความเท่าเทียมทางเพศ พ.ศ. 2558 หากแต่ความรู้ความเข้าใจ สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย
ในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศยังไม่ปรากฏอย่างกว้างขวางในสังคม รัฐจะต้อง
เผยแพร่และสร้างความเข้าใจแก่คนในสังคม มีนโยบายที่ชัดเจนแก่เพศทางเลือก
ทั้งในด้านการศึกษา การสาธารณสุข และด้านแรงงาน