Page 336 - kpi21190
P. 336

336
                                                                                                                               สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 ประจำปี 2562

                                                                                                                                   st
               มือของประชาชน แล้วทำให้เกิดความเจริญในพื้นที่ไปพร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของบทบาท                                     21  Annual King Prajadhipok’s Institute (KPI) Congress 2019
               ภาคประชาชน

                     กรณีศึกษาเทศบาลนครยะลา ได้มีการดำเนินโครงการต่าง ๆ จำนวนมากมาตั้งแต่
               ปี พ.ศ. 2547 เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการเริ่มต้นขึ้นของปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้                                  บทความที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรอง
               โครงการในช่วงแรกนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ทำให้สังคมมีความ                                   ให้ตีพิมพ์ในเอกสารสรุปการประชุมวิชาการ

               สมานฉันท์มากขึ้น ดังเช่นโครงการ Symphony Orchestra เดิมทีต้องการเอาดนตรีมาทำให้
               ชุมชนต่าง ๆ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น แต่สุดท้ายกลายเป็นการทำให้เด็กนักเรียนที่ไม่มี                                     สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
               โอกาสได้มีโอกาสมากขึ้นในการเล่นดนตรีคลาสิค ซึ่งถือเป็นดนตรีชั้นสูงที่คนทั่วไปก็อาจไม่มี
               โอกาสได้เข้าถึง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นโอกาสในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระดับพื้นที่

               นอกจากนี้เทศบาลนครยะลายังมองว่า การศึกษาเป็นจุดคานงัดที่สำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำ
               โดยความพยายามทำให้โรงเรียนและครูได้วิเคราะห์ศักยภาพเด็กในโรงเรียนแต่ละคนว่ามี
               ความเหมาะสมอย่างไร มีทักษะอะไร มีความถนัดด้านใด จากนั้นก็จะมีการจัดหลักสูตรและ
               แนะนำการเรียนการสอนที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นหลักการสำคัญที่ทำให้คนทุกคน

               มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น เด็กและเยาวชนได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสมตามศักยภาพหรือ
               ความสนใจของแต่ละคน

                     คำถามต่อมา หากการกระจายอำนาจช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้ แล้วเหตุใดรัฐจึงไม่
               ส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจในระดับพื้นที่? ซึ่งเหตุผลสำคัญมีอยู่หลายประการ เช่น

               ฝ่ายการเมืองไม่มีเจตจำนงในการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง เพราะการกระจายอำนาจทำให้
               อำนาจของฝ่ายการเมืองลดลง ถัดมาคือโครงสร้างระดับประเทศเป็นปัญหาต่อการกระจาย
               อำนาจ เพราะความเข้มแข็งของรัฐราชการ ยิ่งรัฐราชการมีความเข้มแข็งมากเท่าใดการกระจาย

               อำนาจก็ยิ่งไม่เกิดขึ้น และสุดท้ายรัฐไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการกระจายอำนาจ อีกทั้งไม่มี
               การชี้ให้เห็นว่านโยบายการกระจายอำนาจมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้จริง สังคมไม่เกิด
               ความคล้อยตามหรือผลักดันให้เกิดการกระจายอำนาจมากนัก

                     ดังนั้นเราจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจในการลดความเหลื่อมล้ำในระดับ

        สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย
               พื้นที่ ? ซึ่งก็ได้มีข้อเสนอแนะอยู่ 2 ประการ คือ
                      1. จะต้องผลักดันให้ฝ่ายการเมืองมีเจตจำนงที่ชัดเจนในการผลักดันนโยบายกระจาย
                         อำนาจ

                      2. เสนอให้การกระจายอำนาจเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกคนในประเทศต้องให้ความสำคัญ

                         ทุกภาคส่วนต้อร่วมกันขับเคลื่อน โดยมีโครงการและหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่าง
                         จริงจัง เช่น คณะกรรมการกระจายอำนาจ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น และ
                         สิ่งสำคัญการกระจายอำนาจนั้นจะต้องทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชน
                         เข้ามามีส่วนร่วม สุดท้ายการกระจายอำนาจก็จะเกิดขึ้นและกลายเป็นปัจจัยใน

                         การลดความเหลื่อมล้ำได้
   331   332   333   334   335   336   337   338   339   340   341