Page 335 - kpi21190
P. 335
335
การเมือง โดยมิติทางเศรษฐกิจนั้นแน่นอนว่าหมายถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนที่ยากจน
และกลุ่มคนที่ร่ำรวย ขณะที่มิติทางสังคมนั้นได้มีการอภิปรายในกลุ่มย่อยที่ 5 เพียงความแตกต่าง
ของโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ คนบางกลุ่มเข้าถึงบริการสาธารณะและคนอีกกลุ่ม
ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการสาธารณะในด้านการศึกษาและ
การสาธารณสุข ซึ่งเป็นบริการขั้นพื้นฐานมากที่สุด และมิติสุดท้ายคือ มิติทางการเมือง
การอภิปรายในกลุ่มย่อยที่ 5 ได้มุ่งไปที่การเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจทางการเมืองของ
ประชาชนในระดับท้องถิ่น มีเพียงคนบางกลุ่มเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง
แต่คนอีกกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการดังกล่าวนี้ได้เลย
คำถามต่อมา อะไรคือสาเหตุสำคัญของความเหลื่อมล้ำ? ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ
เงื่อนไขของความไม่เป็นธรรมเป็นสิ่งสำคัญหรือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำสูง
ยกตัวอย่างเช่น ความไม่เป็นธรรมยิ่งทำให้คนจนยิ่งจนหนักมากขึ้น ในขณะที่คนรวยก็อาจจะ
ทำให้ยิ่งรวยมากขึ้น เช่นเดียวกันในมิติทางสังคม คนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงบริการ
สาธารณะได้ ความไม่เป็นธรรมก็ยิ่งทำให้คนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะอยู่เรื่อยไป
ขณะที่คนที่มีโอกาสก็ยังคงเข้าถึงบริการสาธารณะที่มากขึ้นเรื่อยไป
สุดท้ายการกระจายอำนาจที่กล่าวมาทั้งหมดจะมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำอย่างไร?
ซึ่งทุกท่านที่เข้าร่วมอภิปรายในกลุ่มย่อยที่ 5 เห็นตรงกันว่า การกระจายอำนาจไม่ใช่เพียง
การมองแค่การกระจายอำนาจระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ใช่เพียงการมองแค่
องค์กรหรือโครงสร้างที่เป็นทางการเท่านั้น แต่จะต้องมองว่า การกระจายอำนาจที่แท้จริงคือ
การทำให้อำนาจนั้นไปอยู่ในมือของประชาชนหรืออยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ซึ่งได้มีการ
ยกกรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง คือ เทศบาลนครขอนแก่น และเทศบาล
นครยะลา ดังนี้
กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น ได้มีการอธิบายโครงการหนึ่งที่น่าสนใจมากนั่นคือ
โครงการเทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่ โดยท่านนายกเทศมนตรีได้พยายามแตกพื้นที่ในเขต
เทศบาลที่มีลักษณะเป็นชุมชนออกเป็นชุมชนย่อย ๆ ในแต่ละชุมชนที่แตกออกมาก็เป็นเสมือน
เทศบาลขนาดเล็ก ๆ ทำให้ในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่นประกอบไปด้วยเทศบาลย่อย ๆ เต็ม
ไปหมด ซึ่งก็คือชุมชนในเขตเทศบาล ประธานชุมชนแต่ละชุมชนก็เป็นเสมือนนายกในเทศบาล
ย่อย ๆ นั้น ประธานชุมชนก็จะมีอำนาจในการตัดสินใจ ประชาชนในแต่ละชุมชนก็จะคิด
โครงการเองดำเนินการเองและตรวจสอบกันเอง ประชาชนที่อยู่ในชุมชนย่อยยังมีหน้าที่คอย
ตรวจสอบการทำงานของประธานชุมนให้ดำเนินการในสิ่งที่ประชาชนต้องการ ซึ่งกระบวนการ
ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดการกระจายอำนาจลงไปในชุมชนและเกิดกระบวนการตรวจสอบดูแลซึ่งกัน
และกัน ทำให้ความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ลดลง ขณะที่อีกโครงการหนึ่งของเทศบาลนครขอนแก่น สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย
นั่นคือ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา ที่มีหลักการในเรื่องการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่
มีส่วนร่วม ภาคเอกชนเกิดการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง สิ่งสำคัญที่
สะท้อนให้เห็นจากกรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่นนั่นคือการกระจายอำนาจที่กระจายไปอยู่ใน