Page 80 - kpi20767
P. 80
55
ฐานะปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายด้านต่างๆ ไปปฏิบัติ ซึ่งจากผลการศึกษาของ วาสนา
พงศาปาน และจุรี วจิตรวาทการ (2561) เรื่องการท าความเข้าใจองค์การมหาชนในประเทศไทย : ค้นหา
ผลการด าเนินงาน ได้พบปัจจัยหลักที่มีผลต่อการด าเนินงานขององค์การมหาชนตามหลักธรรมาภิบาล
ได้แก่ ปัจจัยด้านงบประมาณและวิธ๊การงบประมาณ จากผลการศึกษาของ ศิรินันท์ หล่อตระกูล (2560)
เรื่องรูปแบบการน านโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้พบปัจจัยที่ส่งผลต่อการ
น านโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ คือ ปัจจัยความพร้อมด้านบุคลากร
งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ (ทรัพยากร) ในขณะที่จากผลการศึกษาของ ชยุต มารยาทตร์ และไชยา ยิ้มวิไล
(2560) ก็เรื่องการบริหารจัดการสถานีต ารวจตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีต ารวจนครบาล
พบว่า ปัจจัยด้านทรัพยากรการบริหารมีผลต่อการบริหารจัดการสถานีต ารวจตามหลักธรรมาภิบาล ส่วน
ผลการศึกษาของ ก าจร อ่อนค า รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์ รณัน จุลชาต และอภิวัฒน์ พลสยม (2559) เรื่องปัจจัย
ที่ส่งผลต่อความส าเร็จกับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนต าบลตะเคียน
อ าเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ได้สรุปว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จกับการปฏิบัติงานตามหลัก
ธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนต าบลได้แก่ ปัจจัยด้านงบประมาณ และทรัพยากรต่างๆ อีกทั้งจาก
ผลการศึกษาของ ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์ (2558) เรื่องการน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์การ
บริหารส่วนต าบลจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้สรุปว่างบประมาณ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการน าหลัก
ธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนต าบล นอกจากนี้ สัณฑภวิษย์ มากช่วย (2558) ยังได้
อธิบายถึงปัจจัยด้านงบประมาณและทรัพยากรการบริหารว่าเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความส าเร็จใน
การน านโยบายแก้ไขบัญหายาเสพติดไปปฏิบัติของกองบัญชาการต ารวจปราบปรามยาเสพติดเช่นกัน
2.5.5 ปัจจัยแห่งความส าเร็จด้านการสื่อสารในองค์การ
จากการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งมีผลต่อความส าเร็จในการน า
นโยบายไปปฏิบัติ ผู้วิจัยได้พบว่ามีงานวิจัยที่ได้มีการอธิบายถึงปัจจัยแห่งความส าเร็จด้านการสื่อสารใน
องค์การ ในฐานะปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายด้านต่างๆ ไปปฏิบัติ ซึ่งจากผลการศึกษา
ของ เสน่ห์ จุ้ยโต (2558) เรื่องตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง ซึ่ง
ได้ผลการถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บริหารประสบความส าเร็จว่า องค์การบริหารส่วน
จังหวัดที่บริหารประสบความส าเร็จเกิดจากการมีหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพภายในองค์กร จากการศึกษาของ วรานิษฐ์ ล าใย (2557) เรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหาร
จัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนต าบลเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันตก ได้อธิบายถึงปัจจัยซึ่งเป็น
เงื่อนไขความส าเร็จในการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนต าบลเพื่อพัฒนาชุมชนได้แก่ ปัจจัย
การสื่อสารร่วมกันในองค์การ ส่วนผลการศึกษาของ เสน่ห์ จุ้ยโต และกิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย (2555)