Page 84 - kpi20767
P. 84

59


                       บริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สรุปว่าปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการ

                       ปฏิบัติงานของหน่วยงานที่น านโยบายไปปฏิบัติ มีผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายด้านต่าง ๆ ไป

                       ปฏิบัติของหน่วยงาน ในขณะที่ผลการศึกษาของ ธนบดี ฐานะชาลา (2560) เรื่องปัจจัยที่อธิบายธรรมา
                       ภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก ได้อธิบายว่า ปัจจัยการสร้างเครือข่าย

                       ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ นั้น มีผลโดยตรงต่อความส าเร็จในการ

                       น านโยบายหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก ส่วนผลการศึกษา
                       ของ มณฑิรา มีรส (2558) เรื่องรูปแบบการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์การบริหาร

                       ส่วนจังหวัด กรณีศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งได้ค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการน าแนวคิดหลักธรรมาภิบาลมา

                       ประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่า ปัจจัยด้านการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วน
                       ต่างๆ มีผลต่อการน าแนวคิดหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง อุดมโชค

                       อาษาวิมลกิจ (2558) ได้อธิบายถึงความส าคัญของเครือข่ายความร่วมมือไว้ว่า เป็นกลไกในการพัฒนาการ

                       มีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขแห่งความส าเร็จในการปกครองตามหลักธรรมา
                       ภิบาล และการบริหารจัดการกิจกรรมสาธารณะของท้องถิ่นอย่างมีนัยส าคัญ

                                2.5.11 ปัจจัยแห่งความส าเร็จด้านค่านิยม/วัฒนธรรม

                                     จากการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งมีผลต่อความส าเร็จในการน า
                       นโยบายไปปฏิบัติ ผู้วิจัยได้พบว่ามีงานวิจัยที่ได้มีการอธิบายถึงปัจจัยแห่งความส าเร็จด้านค่านิยม/

                       วัฒนธรรมในฐานะปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายด้านต่างๆ ไปปฏิบัติ ซึ่งจากผลการศึกษา

                       ของ ฐิติพงศ์ วิชัยสาร และ วนิดา สุวรรณนิพนธ์ (2561) เรื่องความส าเร็จในการบริหารราชการส่วน
                       ภูมิภาคอย่างยั่งยืน ซึ่งสรุปได้ว่า กระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม เป็นปัจจัยส าคัญที่มีอิทธิพลต่อ

                       ความส าเร็จของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างยั่งยืน ในขณะที่จากผลการศึกษาของ ชยุต

                       มารยาทตร์ และไชยา ยิ้มวิไล (2560) เรื่องการบริหารจัดการสถานีต ารวจตามหลักธรรมาภิบาลของ
                       หัวหน้าสถานีต ารวจนครบาล ได้อธิบายว่าวัฒนธรรมในการใช้เส้นสาย ท าให้การท างานไม่มีประสิทธิภาพ

                       กระบวนการท างานล่าช้า มีขั้นตอนมาก ส่งผลท าให้ประชาชนไม่ได้รับบริการที่ดี ท าให้งานของต ารวจไม่มี

                       ประสิทธิภาพไม่เกิดประสิทธิผลเท่าที่ควร ซึ่งได้สรุปว่าปัจจัยด้านค่านิยม/วัฒนธรรมองค์การเป็นปัจจัยที่มี
                       ผลต่อการบริหารจัดการสถานีต ารวจตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีต ารวจนครบาล ส่วนผล

                       การศึกษาของ วรชัย สิงหฤกษ์ และประสพชัย พสุนนท์ (2559) เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการน าหลักธรรมา

                       ภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จ ากัด ได้พบว่าปัจจัยด้าน
                       ค่านิยม/วัฒนธรรมของหน่วยงาน มีอิทธิพลต่อความส าเร็จของการน าหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหาร

                       จัดการของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จ ากัด
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89